Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/912
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พิพัฒน์ ปราโมทย์ | |
dc.contributor.author | บุณย์ฤทธิ์ ประสาทแก้ว | |
dc.contributor.author | ประยุทธ ดวงคล้าย | |
dc.date.accessioned | 2013-09-27T02:50:00Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:37:37Z | - |
dc.date.available | 2013-09-27T02:50:00Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:37:37Z | - |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/912 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและออกแบบอากาศยานขนาดเล็ก โดยมีการออกแบบใบพัด ตัวอากาศยานและอุปกรณ์ส่งสัญญาณภาพในหลายๆ ลักษณะเปรียบเทียบกัน ทั้งนี้รวมไปถึงการออกแบบสร้างระบบร่อนลงจอดโดยอัตโนมัติที่ใช้ระบบอินฟาเรดที่มีชุดไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นตัวควบคุม จากการออกแบบและทดสอบแสดงให้เห็นว่าค่าความแข็งแรงของใบพัดที่ใช้ในการขับอากาศยานขนาดเล็กนี้ จะเห็นได้ชัดว่าวัสดุที่ใช้ทำใบพันที่เป็นไม้นั้นจะให้ค่าความแข็งแรงสูงสุดเมื่อเปรีบเทียบกับใบพัดที่ทำจากพลาสติกและใบพัดที่จากสไตโรโฟมเสริมแรง ซึ่งจากผลทางไฟไนท์เอเลเมนท์ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนวาที่จุดยึดใบพัดแต่ละแบบจะมีค่าความเข้มข้นของความเค้นสูงมาก แม้ว่าใบพัดที่ทำจากไม้จะมีค่าความเค้นที่จุดจับยึดน้อยกว่าแบบอื่น และมีความคงทนมากกว่าเมื่อถูกแรงภายนอกมากระทำ แต่ตามธรรมชาติของไม้จะไวต่อค่าความชื้นในอากาศ ดังนั้นเมื่อค่าความชื้นในอากาศสูง มุมปะทะของใบพัดมีการเปลี่ยนแปลงจากการบิดตัวของไม้ ส่วนสมรรถนะในการบินของอากาศยานแบบต่างๆ แสดงให้เห็นถึงอัตราการใช้พลังงานที่ใช้ขับอากาศยาน จะแปรผันตามค่าของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และจะแปรผกผันกับค่าอัตราความเร็วของลมที่ใช้ในการทดลอง ในส่วนของผลการบันทึกความชัดเจนของสัญญาภาพจากอุปกรณ์ส่งสัญญาณภาพแบบไร้สาย โดยเปรียบเทียบในด้านสัญญาณรบกวนระหว่างคลื่นความถี่ของอุปกรณ์ที่ใช้บังคับอากาศยาน กับคลื่นความถี่ของอุปกรณ์ส่งสัญญาณภาพแบบไร้สาย โดยเมื่อนำเอาของสัญญาณภาพมาเปรียบเทียบค่ามาตรฐานที่ได้ตั้งไว้ในโปรแกรม มีค่าความผิดเพี้ยนของสัญญาณไม่มากนัก และผลการทดลองด้านการควบคุมและสัญญาณตอนสนองจากระบบลงจอดอัตโนมัติ แสดงให้เห็นว่าอัตราการตอบสนองของเซอร์โวมอเตอร์ยังต่ำอยู่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระนาบของอากาศยานขนาดเล็กอย่างรวดเร็ว แต่ในด้านความเร็วรอบใบพัดขับสามารถปรับให้มีความเร็วรอบใกล้เคียงตามที่ต้องการได้เมื่อเปรียบเทียบกับระดับความสูงของตัวอากาศยาน | en_US |
dc.language.iso | Thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.subject | สิ่งประดิษฐ์ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | อากาศยาน -- วิจัย | en_US |
dc.title | อากาศยานขนาดเล็กสำหรับตรวจสอบที่เกิดเหตุ | en_US |
dc.title.alternative | Mini-arial crime scene observer | en_US |
dc.type | Research | en_US |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
088229.pdf | อากาศยานขนาดเล็กสำหรับตรวจสอบที่เกิดเหตุ | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.