Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4432
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณษธัศ, ฐิติธนภูมิ-
dc.date.accessioned2024-09-20T02:47:52Z-
dc.date.available2024-09-20T02:47:52Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4432-
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมี ส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 322 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาการบริหาร แบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมในการวางแผน ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ครูได้มีส่วนร่วมในการกำหนดการใช้ทรัพยากร ในการดำเนินงานต่างๆ ให้ครูเห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่ามากที่สุด (2) การมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมาย ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ครูได้มีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมาย และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานต่างๆ จนเกิดความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน (3) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ครูได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจประเมินผล การตรวจสอบการดำเนินงานต่างๆ และสิ่งจำเป็นต่างๆ ขององค์กร (4) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ครูได้ร่วมแรงร่วมใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันกับชุมชน และ ผู็ปกครอง (5) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรร่วมแสดงความยินดีเมื่อผลการ ดำเนินงานออกมามีผลสำเร็จ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับครู (6) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ผู้บริหารควรให้ครูมีส่วนร่วมในการประเมินผลจากการปฏิบัติงานต่างๆ และสังเกตวัฒนธรรมองค์กร เพื่อการอยูร่วมกันอย่างมีความสุข มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้ครูคาดหวังผลจากการปฏิบัติงานต่างๆen
dc.description.abstractThis research aimed to: 1) investigate the participative administration of school administrators under the Secondary Education Service Area Office Pathum Thani, and 2) propose the practical approach of the participative administration of school administrators. The research samples consisted of 322 teachers under the Secondary Education Service Area Office Pathum Thani. The key informants included five school administrators from the Secondary Education Service Area Office Pathum Thani. The instruments were questionnaires and interview forms. To analyze the data, the researcher conducted statistics consisting of frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis for the qualitative study. The findings revealed that: 1) the overall participative administration of school administrators under the Secondary Education Service Area Office Pathum Thani demonstrated a high level. 2) The practical approach of school administrators to participatory administration included six dimensions. (1) Participation in planning: School administrators should allow teachers to participate in determining the resources for various operations and give precedence to resources with the greatest benefit and value. (2) Participation in goalsetting: School administrators should allow teachers to participate in determining goals and directions for operations to understand and implement in the same direction. (3) Participation in decision- making: School administrators should engage teachers in evaluation decisions, examination of the various operations and necessities of the organization. (4) Participation in operations: School administrators should involve teachers in activities with the community and parents. (5) Participation in advantage: As a morale booster for teachers, school administrators should congratulate teachers on successful performance. (6) Participation in assessment: Administrators should support teachers in performance evaluation, observe corporate culture for delightful living, and use technology for teachers expecting results from performance.en
dc.language.isoThaien
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.en
dc.subjectการบริหารแบบมีส่วนร่วมen
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษาen
dc.subjectสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีen
dc.subjectparticipative administrationen
dc.subjectadministratoren
dc.subjectSecondary Education Service Area Office Pathum Thanien
dc.titleการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีen
dc.title.alternativeThe partcipative administration of school administrators under the secondary education service area office pathum thanien
dc.typeThesisen
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-173732.pdfการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.