Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4140
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัชรินทร์ เฉลยไกร-
dc.date.accessioned2023-07-13T07:04:39Z-
dc.date.available2023-07-13T07:04:39Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4140-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน สำหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน สำหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) พัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน สำหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา และ 4) ประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน สำหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีผลการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน สำหรับจัดการเรียน การสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แบ่งการดาเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 ท่าน และระยะที่ 2 การสนทนากลุ่ม โดยการประชุมระดมความคิดจากครูผู้สอนอาชีวศึกษา คัดเลือกแบบโควตา จำนวน 12 ท่าน พบว่า องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ประกอบด้วย ผู้เรียน ผู้สอนและ การบริหารจัดการ/กระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ และการใช้ผลการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน สำหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเตรียมการเรียนรู้ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการประเมินพบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน สำหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมคู่มือมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน สำหรับจัดการเรียน การสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากาลัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 45 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมินความคิดเห็น ผลการทดลองพบว่า ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ 3 รูปแบบ (1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน คะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.40 (2) การใช้ผลการวิจัยเป็นฐาน คะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.00 และ (3) การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม คะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 53.20 ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้แบบเดิมและการใช้วิจัยเป็นฐาน ผู้เรียนมีคะแนนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน สำหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม โดยมีความคิดเห็น ในภาพรวมระดับมากที่สุดen
dc.description.abstractThe objectives of this research were to 1) study the components of research-based learning management for teaching industrial subjects under the Office of the Vocational Education Commission, 2) develop of research-based learning management model for teaching industrial subjects under the Office of the Vocational Education Commission, 3) develop a manual of research-based learning management for teaching industrial subjects under the office of the Vocational Education Commission, and 4) evaluate the of research-based learning management model for teaching industrial subjects under the office of the Vocational Education Commission. The research results are as follows: Step 1: A study of the components of research-based learning management for teaching industrial subjects under the Office of the Vocational Education Commission was conducted, divided into two phases. Phase 1: in-depth interviews with eight experts and Phase 2: a focus group brainstorming by twelve vocational teachers selected by quota. The results found that learning management using the research-base from vocational teachers should consists of learners, teachers and management/learning processes. Research-based learning management can be divided into two types: including using the research process as a base for learning and the use of research results in learning management. Step 2: Development of research-based learning management.The learning management model was evaluated by nine experts.The data were analyzed by evaluating the consistency indices in 3 aspects: 1) learning preparation 2) learning management and 3) learning achievement. The evaluation results showed that the consistency index was at the highest level.Step 3: Development of a research-based learning management manual for industrial subjects under the Office of the Vocational Education Commission evaluated by six experts. The results of the evaluation found that, overall, the manual was appropriate at the highest level.Step 4: An evaluation of the research-based learning management model for teaching in industrial subjects under the Office of the Vocational Education Commission. The samples were selected through cluster random sampling for 45 students in the 2nd year of Vocational Certificate Program in Electrical Power, 1st semester of the academic year 2020. The research instruments were; 1) a learning management plan, 2) an achievement test, and 3) an opinion assessment form. The results of the management models found that (1) By using research-based processes, for learning management, the scores were increased by 82.4%, (2) According to the research-based results, scores increased by 81.00%, (3) By using learning management in traditional teaching, scores increased by 53.2%, 4) The students' scores showed a statistically significant difference with the use of traditional and research-based teaching at the level of .05 The students’ opinion toward the research-based teaching and learning in industrial subjects was the highest in overall.en
dc.language.isoThaien
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาเทคนิคศึกษา.en
dc.subjectการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานจัดการเรียนการสอนen
dc.subjectอาชีวศึกษาen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน สำหรับจัดการเรียน การสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาen
dc.title.alternativeDevelopment of Research-based Learning Management Model for Teaching Industrial Subject under the Office of the Vocational Education Commissionen
dc.typeDissertationen
Appears in Collections:ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-175326.pdfDevelopment of Research-based Learning Management Model for Teaching Industrial Subject under the Office of the Vocational Education Commission3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.