Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3723
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | รุ่งโรจน์ สุทธิสุข | - |
dc.contributor.author | พันนิดา เสือจำศีล | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-27T08:19:06Z | - |
dc.date.available | 2020-11-27T08:19:06Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3723 | - |
dc.description | An Analysis of Suggestions for the Professional Performance of the Specialized Committee to Assess Performance and Ethics and Professional Morality in the Development of Quality of Professional Performance of the Support Personnel of Rajamangala University of Technology Thanyaburi | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อเสนอแนะผลงานทางวิชาชีพของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาชีพ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามประเภทผลงานทางวิชาชีพ ประกอบด้วย คู่มือการปฏิบัติงานหลัก ผลงานเชิงวิเคราะห์ ผลงานวิจัย และผลงาน ในลักษณะอื่น แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิและแบบบันทึกประเด็นข้อเสนอแนะในการประเมินผลงานทางวิชาชีพและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาชีพ และดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557-30 เมษายน 2563 จำนวน 40 ราย ๆ ละ 3 ฉบับ รวมจำนวน 120 ฉบับ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสรุปรายละเอียด การประเมินผลงานทางวิชาชีพและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพของบุคลากรสายสนับสนุน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือการปฏิบัติงานหลัก พบข้อดีได้แก่ เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาหรือปรับปรุงงาน ระบบงานหรือมาตรฐานของงาน นำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ หรือนำไปปฏิบัติงานได้ การเรียบเรียงเนื้อหาสาระในแต่ละบทมีความชัดเจน ตามลำดับ ไม่สับสน ตลอดจน มีความเชื่อมโยงของหัวข้อ และรูปแบบ/โครงร่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักวิชาการ โดยการอ้างอิงเอกสารถูกต้องทั้งในส่วนของเนื้อหาและบรรณานุกรม และพบข้อควรพัฒนาและปรับปรุงได้แก่ ควรมี การตรวจทานหรือการพิสูจน์อักษร การอ้างอิงเอกสารไม่ถูกต้องทั้งในส่วนของเนื้อหาและบรรณานุกรมควรมีความสอดคล้องกันและเป็นไปตามหลักการอ้างอิงที่เป็นสากล อายุของเอกสารไม่ควรเกิน 10 ปี และการเรียบเรียงเนื้อหาสาระไม่เป็นไปตามลำดับ สับสน ไม่ครอบคลุมตามชื่อเรื่อง ขาดความเชื่อมโยงของหัวข้อ 2) ผลงานเชิงวิเคราะห์ พบข้อดีได้แก่ เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหรือ ปรับปรุงงาน ระบบงานหรือมาตรฐานของงาน นำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ การเขียนข้อเสนอแนะ มีการสอดแทรกความคิดเห็นจากประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม และพบข้อควรพัฒนาและปรับปรุงได้แก่ ควรมีการตรวจทานหรือการพิสูจน์อักษร การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ รวมถึงสถิติที่ใช้เพื่อนำไปสู่การเสนอผลการวิเคราะห์ไม่เหมาะสม การนำเสนอผล การวิเคราะห์ไม่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ ควรเรียงตามวัตถุประสงค์ รูปแบบการนำเสนอไม่น่าสนใจ การแปลข้อมูลผิดพลาด ควรกระชับ รัดกุมและอ่านเข้าใจง่าย และการใช้คำหรือวลีไม่คงเส้นคงวา 3) ผลงานวิจัย พบข้อดีได้แก่ เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหรือปรับปรุงงาน ระบบงานหรือมาตรฐานของงาน นำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ การเขียนข้อเสนอแนะ มีการสอดแทรกความคิดเห็นจากประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ การเรียบเรียงเนื้อหาสาระในแต่ละบทมีความชัดเจน ตามลำดับ ไม่สับสน ตลอดจนมีความเชื่อมโยงของหัวข้อ และการอ้างอิงเอกสารถูกต้อง ทั้งในส่วนของเนื้อหาและบรรณานุกรมมีความสอดคล้องกัน และเป็นไปตามหลักการอ้างอิงที่เป็นสากล และพบข้อควรพัฒนาและปรับปรุงได้แก่ควรมีการตรวจทานหรือการพิสูจน์อักษร การอ้างอิงเอกสารไม่ถูกต้อง ทั้งในส่วนของเนื้อหาและบรรณานุกรมควรมีความสอดคล้องกัน และเป็นไปตามหลักการอ้างอิงที่เป็นสากล และอายุของเอกสารไม่ควรเกิน 10 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ รวมถึงสถิติที่ใช้เพื่อนำไปสู่การเสนอผลการวิเคราะห์ไม่เหมาะสม และขาดการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ และ 4) ผลงานในลักษณะอื่นพบข้อดีได้แก่ เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหรือปรับปรุงงาน ระบบงานหรือมาตรฐานของงานนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ และทำให้เกิดความรู้ใหม่หรือเทคนิควิธีการใหม่ต่อวงการวิชาชีพ และพบข้อควรพัฒนาและปรับปรุงได้แก่ มีรูปแบบ/โครงร่างไม่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักวิชาการ การเขียนบรรณานุกรมไม่ถูกต้อง และควรมีการตรวจทานหรือการพิสูจน์อักษร | en |
dc.description.abstract | This research aimed to analyze the suggestions for the professional performance of the specialized committee to assess performance and ethics and professional morality in the development of quality of professional performance of the support personnel of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The method classified by professional performance, consisting of the central performance manual, analytical work, research results, and other types of work. Sources of data used in the research were the expert result form, and the suggestions form for evaluate the professional performance, and ethics, and professional morality of the support personnel of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The support personnel applied for a professional position and completed from 1 January 2014 – 30 April 2020, totaling 40 persons, three items in each person, totaling 120 documents. The instrument for data collection was an assessment summary form for professional performance, and ethics, and professional morality of the support personnel. The statistics for data analysis were composed of frequency and percentage. The results indicated the four dimensions. First, the central operation manual revealed the advantages, including work that was beneficial to the development or improvement of work, work systems, or standards of practice as a reference or an implementation to work. The content arrangement of each chapter was explicit and well-organized without confusion. The topics, pattern, and layout showed association by correctness and completion according to academic principles, by citing the correct documents in both the content and bibliography. The finding also showed the developments and improvements, including the reviews or proofreading, and incorrect document references. The content and bibliography should be consistent and conform to international reference principles. The age of the document should not exceed ten years. The composition of content was not in order, confused, not covered by title, lack of connection to the topic. Second, the analytical work showed advantages, including beneficial works to the development or improvement of work system or standard of work, as a reference. Writing suggestions were appropriate with comments from work experience. The finding also showed the developments and improvements, including the reviews or proofreading, incomplete data analysis for objectives. The statistics led to an inappropriate presentation of results that should be sorted according to purposes. The presentation format was not engaging with error translation, which should be concise and easy to read. The use of words or phrases was not consistent. Third, the research results found the advantages, including beneficial works to the development or improvement of work system or standard of work, as a reference. Writing suggestions were appropriate with comments from work experience. Data analysis was accurate and complete by the objective. The content arrangement of each chapter was explicit and well-organized without confusion. The topics, pattern, and layout showed association by correctness and completion according to academic principles. The finding also showed the developments and improvements, including the reviews or proofreading, incomplete data analysis for objectives, and invalid document reference. The reference of the content and bibliography should be consistent based on international reference principles. The age of the documents should not be more than ten years. Data analysis was not complete according to the objectives. The statistics led to an inappropriate presentation of results. The instrument lacked quality validity checking. Finally, Other forms of performances showed the advantages, including beneficial works to the development or improvement of work system or standard of work, as a reference. This point contributed the new knowledge or new techniques for the professional community. The result indicated the developments and improvements, including the format / layout, which was incorrect and incomplete by principle, invalid document reference, which should be reviewed or proofread. | en |
dc.language.iso | other | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองบริหารงานบุคคล. | en |
dc.subject | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | en |
dc.subject | จรรยาบรรณทางวิชาชีพ | en |
dc.subject | ผลงานทางวิชาชีพ | en |
dc.title | การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะผลงานทางวิชาชีพของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพในการพัฒนาระดับคุณภาพผลงานทางวิชาชีพของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | en |
dc.title.alternative | An Analysis of Suggestions for the Professional Performance of the Specialized Committee to Assess Performance and Ethics and Professional Morality in the Development of Quality of Professional Performance of the Support Personnel of Rajamangala University of Technology Thanyaburi | en |
dc.type | Other | en |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - PD) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
20200918-research-rungrot&phannida.pdf | การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะผลงานทางวิชาชีพของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพในการพัฒนาระดับคุณภาพผลงานทางวิชาชีพของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.