Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/307
Title: | ความคิดเห็นของผู้ประกอบการส่งออกไทยต่อมารตฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม(ISO 26000:Social Responsibility) |
Other Titles: | Opinions of Thai Exporters on ISO 26000 : Social Responsibility |
Authors: | อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์ อุดม สายะพันธุ์ ผู้ให้ทุน.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
Keywords: | การส่งออก -- ไทย -- วิจัย มาตรฐานสากล ISO 26000 |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะบริหารธุรกิจ |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความคิดเห็นของผู้ประกอบการส่งออกไทยต่อมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000 : Social Responsibility)” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การรับรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดจนแนวโน้มของผู้ประกอบการส่งออกไทยในการนำมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้ในองค์กร และความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจส่งออกสินค้าและบริการ จำนวน 311 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ(F-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) จากการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นกิจการประเภทบริษัท จำกัด เป็นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม มีระยะเวลาการดำเนินธุรกิจมากกว่า 20 ปี มีเงินทุนจดทะเบียนสูงกว่า 10 ล้านบาท และมีพนักงานในองค์กรน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 คน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการกำหนดนโยบายและ/หรือดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมโดยกิจกรรมที่ดำเนินการมากที่สุด คือ สร้างความพึงพอใจและรับผิดชอบต่อลูกค้าด้วยการเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน รองลงมา คือ ผลิตสินค้าหรือบริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าในการใช้สินค้าและบริการ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ถูกต้องครบถ้วนไม่หลอกลวงลูกค้า รวมถึงเปิดเผยข้อมูลปัญหาที่เกิดจากการใช้สินค้าและบริการแก่ลูกค้า การให้ผลตอบแทนและสวัสดิการแก่พนักงานทุกคนอย่างเป็นธรรมและถูกต้องตามกฏหมาย ฯลฯ แต่พบว่ากิจกรรมหรือนโยบายที่ผู้ประกอบการมีการกำหนดไว้น้อยที่สุด คือ นโยบายการรับผู้พิการเข้าทำงานกับองค์กร โดยพบว่าผู้ประกอบการเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ามาตรฐานสากบว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมจะสร้างความเชื่อมั่น ความพึงพอใจ และความน่าเชื่อถือของกิจการในสายตาลูกค้า ช่วยบอกให้ทุกคนในสังคมรู้ว่ากิจการมีการทำสิ่งที่ดีและถูกต้อง และสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจแก่ผุ้ถือหุ้น/หุ้นส่วนธุรกิจ/นักลงทุน นอกจากนี้ ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ประกอบการที่มีประเภทกิจการ กลุ่มสินค้าและบริการ และจำนวนพนักงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ประกอบการที่มีประเภทกิจการแตกต่างกันมีแนวโน้มการนำมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้กับองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้ประกอบการที่มีประเภทกิจการ เงินทุนจดทะเบียน และจำนวนพนักงาน แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้ประกอบการที่มีการกำหนดนโยบายการรักษาผลประโยชน์และความซื่อสัตว์ต่อผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วน การกำหนดให้ผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือการดำเนินกิจการ มีนโยบายการบิรหารธุรกิจอย่างโปร่งใส (ธรรมภิบาล) ผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนสามารถตรวจสอบได้ มีการบริหารหรือระบบป้องกันความเสี่ยงในการดำเนินธุริกิจ การผลิตสินค้าหรือบริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าในการใช้สินค้าและบริการ มีกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อชุมชน มีการสนับสนุนช่วยเหลือสังคมหรือชุมชนด้วยกิจกรรมสาธารณประโยชน์ มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม มีนโยบายหรือกิจกรรมด้านการประหยัดพลังงานโดยให้พนักงานเข้ามีส่วนร่วม มีการคัดเลือกและสั่งซื้อวัตถุดิบจากผู้ขายปัจจัยการผลิตที่มีนโยบายหรือกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการให้โอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนาตนเองแก่พนักงานทุกคน มีกิจกรรมการจัดสถานที่ทำงานให้มีความปลอดภัย สนับสนุนพนักงานให้ได้รับการศึกษาระดับสูงขึ้น มีนโยบายไม่ลอกเลียนแบบหรือละเมินลิขสิทธิ์สิ้นค้าหรือบริการของคู่แข่งขัน และมีนโยบายด้านจริยธรรมการแข่งขันทางธุรกิจ มีแนวโน้วการนำมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้กับองค์กรแตกต่างจากผู้ประกอบการที่ไม่มีนโยบายนี้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตที่ระดับ .05 5. ผู้ประกอบการที่มีการกำหนดนโยบายการรักษาผลประโยชน์และความซื่อสัตย์ต่อผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วน กำหนดให้ผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนมีสิทธิเท่าเทียบกันในการได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือการดำเนินกิจการ มีนโยบายการบริหารธุรกิจอย่างโปร่งใส (ธรรมาภิบาล) ผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนสามารถตรวจสอบได้ มีนโยบายการบริหารหรือระบบป้องกันความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ มีกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อชุมชน สนับสนุนช่วยเหลือสังคมหรือชุมชนด้วยกิจกรรมสาธารณประโยชน์ มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม มีนโยบายการยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีนโยบายหรือกิจกรรมด้านการประหยัดพลังงาน มีการคัดเลือกและสั่งซื้อวัตถุดิบจากผู้ขายปัจจัยการผลิตที่มีนโยบายหรือกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีนโยบายการให้โอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนาตนเองแกพนักงานทุกคน มีกิจกรรมการจัดสถานที่ทำงานให้มีความปลอดภัย มีนโยบายสนับสนุนพนักงานให้ได้รับการศึการะดับสูงขึ้น มีนโยบายการเคารพสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิมนุษยชนในความแตกต่างของเพศ เชื้อชาติ และ ศาสนาของพนักงานทุกคน มีนโยบายด้านจริยธรรมการแข่งขันทางธุรกิจ มีความคิดเห็นต่อการจัดทำรายความรับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ผู้ประกอบการที่รับรู้ต่อมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อมาตนฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมว่าช่วยบอกให้ทุกคนในสังคมรู้ว่ากิจการมีการทำสิ่งที่ดีและถูกต้อง สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจแก่ผู้ถือหุ้น/หุ้นส่วนธุรกิจ/นักลงทุน ช่วยลดอุปสรรคและกฏระเบียบการค้าระบห่างประเทศในอนาคตได้ ช่วยลดช่องว่างความแตกต่างระหว่างคนในสังคม สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมต่อส่วนรวม สร้างความน่าสนใจในตัวองค์กรให้กับผู้ลงทุนช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสิ้นค้าของกิจการ ช่วยเพิ่มยอดขายและกำไรในทางอ้อมให้กับกิจการ ทำให้บุคคลภายนอกเห็นว่ากิจการมีส่วนในการลดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคมจะมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจมากขึ้นในอนาคต ช่วยสร้างความสุขให้กับสังคมส่วนรวม ลดความเสี่ยงจากการทำผิดกฏหมาย และก่อให้เกิดความยั่งยืนกับองค์ในระยะยาวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. ผู้ประกอบการที่มีการรับรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบแตกต่างกันมีแนวโน้วการนำมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้กับองค์กร และความคิดเห็นต่อการจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 8. ความคิดเห็นต่อมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมทุกข้อมีความสัมพันธ์กับแนวโน้วการนำมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้กับองค์กรและความคิดเห็นต่อการจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม อย่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/307 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ความคิดเห็นของผู้ประกอบการส่งออกไทยต่อมารตฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO....pdf | Opinions of Thai Exporters on ISO 26000 : Social Responsibility | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.