Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2668
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ของรูปลักษณ์เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Other Titles: | Factors Affecting Human Computer Interaction Effectiveness for Interface of Rajamangala University of Technology Thanyaburi Website |
Authors: | เทพวิมล เชิดบารมี |
Keywords: | ความสอดคล้อง รูปลักษณ์ของเว็บไซต์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ, วิชาเอกระบบสารสนเทศ. |
Abstract: | การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสอดคล้องของรูปลักษณ์ของเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกับลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ 2)ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานเว็บไซต์ต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ และ 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลเว็บไซต์ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ของรูปลักษณ์เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาโทของคณะบริหารธุรกิจ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 153 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Samples t-test, One-way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาปริญญาโทส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-29 ปี สังกัดสาขาการจัดการทั่วไป ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท มีประสบการณ์ความรู้การใช้งานเว็บไซต์ในเรื่องการค้นหาข้อมูล มีความรู้และประสบการณ์ในการใช้งานโปรแกรม Microsoft Office ส่วนใหญ่เข้าใช้งานเว็บไซต์ผ่าน Mobile/Smart phone ทำการเข้าใช้งานเว็บไซต์เฉลี่ย 1-5 ครั้ง/สัปดาห์ ใช้งานเว็บไซต์จากบ้าน/หอพัก และใช้งานเว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูล/สอบถาม ประสิทธิผลด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ของรูปลักษณ์เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีผลการประเมินประสิทธิผลอยู่ในระดับปานกลาง ผลการการทดสอบสมมติฐานยังพบว่า อายุ สาขาวิชาอาชีพ ประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ ประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเขียนโปรแกรมระยะเวลาการเข้าเว็บไซต์มีผลต่อประสิทธิผลด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ของรูปลักษณ์เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีแตกต่างกัน The purposes of this independent study were to 1) study the consistency between Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT) website interface and human computer interaction 2) investigate the behaviors which affect human computer interaction and 3) analyze human computer interaction factors affecting for RUMTT website effectiveness. The subjects were 153 graduate students of the Faculty of Business Administration, RUMTT using stratified random sampling technique. The questionnaire was used as research instrument. Statistics used for data analysis were descriptive statistics including frequency, percentage, means, and standard deviations; and inferential statistics including Independent Samples t-test and One-way ANOVA. The results of the study revealed that most respondents were female M.B.A. students, aged between 26 and 29 years, majoring in general management. They were company employees having experience and knowledge in query information, experience and knowledge of Microsoft Office, and using mobile/smartphone as a tool to access the website. The average frequencies of website usage were 1-5 times a week, using website at house/apartment, using website for reading and querying data. The human computer interaction level was moderate. Hypothesis testing indicated that age, majors, occupation, website experience, programing knowledge and experience as well as duration of website usage had different effects on human computer interaction effectiveness for interface of RMUTT website. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2668 |
Appears in Collections: | การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-149741.pdf | Factors Affecting Human Computer Interaction Effectiveness for Interface of Rajamangala University of Technology Thanyaburi Website | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.