Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/257
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรพี สิทธิไชยากุล
dc.contributor.authorพรพรรณ ทองบัญชาชัย
dc.contributor.authorโสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล
dc.contributor.authorอรัญญา ศรีจารย์
dc.date.accessioned2011-12-26T08:11:11Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:42:20Z-
dc.date.available2011-12-26T08:11:11Z
dc.date.available2020-09-24T04:42:20Z-
dc.date.issued2551
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/257-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา ปทุมธานี นครปฐม นครนายก นนทบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมถึงความเป็นไปได้ในการเปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีนคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และช่องทางในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เมื่อสำเร็จการศึกษา จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 880 คน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห็ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows version 11.0 ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มรจำนวนพี่น้องที่กำลังศึกษาอยู่ 2 คน อาศัยอยู่กับบิดามารดา ได้รับการอุปการะด้านการศึกษาจากบิดาและมารดา บิดาสำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า มารดาสำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ผู้ปกครองที่ไม่ใช่บิดามารดาสำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า บิดาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มารดาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ผู้ปกครองที่ไม่ใช่บิดามารดาของนักเรียนประกอบอาชีพรับราชการ / ทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ใช้ภาษาที่สองสื่อสารภายในครอบครัว ภาษาที่สองที่ใช้ในการสื่อสารภายในครอบครัวส่วนใหญ่ คือ ภาษาจีนแต้จิ๋ว 2. นักเรียนส่วนใหญ่มีทัศนคติในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คือวางแผนว่าหลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้วจะเรียนเต็มเวลาและหาโอกาสทำงานเท่าที่มีโอกาส เลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยปิดของรัฐบาล โดยพิจารณาสาขาที่จะเรียนและสถาบันควบคู่กันไป และเลือกสาขาวิชาที่ตนชอบและถนัดในการศึกษาต่อมากที่สุด 3. นักเรียนร้อยละ 37.39 สนใจเข้าศึกษาต่อสาขาวิชาภาษษจีน เพราะอยากมีความรู้ ความเข้าใจในภาษาจีนให้มากขึ้น ส่วนใหญ่ต้องการให้เสนอข้อมูลการศึกษาต่อสาขาวิชาภาษาจีนโดยการแนะแนวจากสถาณศึกษาของนักเรียน และหารมีการเปิดสอนหลักสูตรภาษาจีนก็ต้องการเข้าศึกษาในสาขาวิชาดังกล่าว นักเรียนคาดหวังว่าจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพ และอยากเป็นมัคคุเทศก์ และต้องการให้สาขาวิชาภาษาจีนเน้นการสอนทักษะการพูดมากที่สุดen_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะศิลปศาสตร์.สาขาวิชาภาษาตะวันออกen_US
dc.subjectการศึกษาต่อ -- วิจัยen_US
dc.subjectภาษาจีนen_US
dc.titleการศึกษาความต้องการศึกษาต่อสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีen_US
dc.title.alternativeA Study of Need Assessment in Chinese Language Major Subject Faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technologyen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:วิจัย (Research - LARTS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
การศึกษาความต้องการศึกษาต่อสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโ....pdfการศึกษาความต้องการศึกษาต่อสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.