Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/196
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2011-10-18T03:19:19Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:37:17Z | - |
dc.date.available | 2011-10-18T03:19:19Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:37:17Z | - |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/196 | - |
dc.description.abstract | บุคคลพิการมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เช่น บุคคลพิการทางขา ทางสายตา หรือทางแขน เป็นต้น ความพิการเหล่านี้อาจจะเป็นมาแต่กำเนิด หรือเกิดจากอุบัติเหตุ แต่ไม่ว่าจะเป็นความพิการแบบใดก็ตาม ย่อมทำให้การใช้ชีวิตประจำวันไม่สะดวกสบายเหมือนบุคคลปกติทั่วไป จึงทำให้มีการสร้างเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อนช่วยเหลือบุคคลพิการเหล่านี้ให้ได้รับความสะดวก หรือสิทธิต่างๆ เหมือนบุคคลปกติ โดยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นหรือดัดแปลงจากที่มีอยู่เดิม นำมาผลิตเป็นอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้พิการ ให้สามารถทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้แบบพึ่งพิงตัวเอง (Independent living) หรือพึ่งพิงผู้อื่นน้อยที่สุด และมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ครอบคลุมไปถึงการ ให้บริการ การประยุกต์ใช้และการนำไปปฏิบัติเพื่อลดอุปสรรคในการทำกิจกรรมของผู้พิการ เช่น การสร้างเครื่องช่วยฟัง การสร้างทางเท้าคนตาบอด หรือการประดิษฐ์ขาเทียม เป็นต้น โครงงานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้พิการทางแขน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้จัดทำเครื่องแปรงฟันสําหรับบุคคลพิการทางแขนขึ้น เป็นต้น แบบโดยการประยุกต์ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR เบอร์ ATmega32 มาเป็นตัวควบคุมการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ DC เครื่องแปรงฟันสำหรับบุคคลพิการทางแขนนี้สามารถปรับตำแหน่งของแปรงให้เหมาะสมกับช่องปาก ปรับขนาดเข้ากับความสูงของผู้ใช้ได้ตั้งแต่ 140 – 175 เซนติเมตร และสามารถใช้กับผู้ที่ถนัดซ้ายและถนัดขวาได้ จาการทดสอบประสิทธิภาพของโครงงานพบว่าสามารถ แปรงฟันให้เข้าถึงเนื้อฟันได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนฟันทั้งหมด ส่วน 25 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สามารถแปรงฟันได้เนื่องจากการแปรงฟันซี่ในสุดทำให้เกิดอาการอาเจียนในบางบุคคล | en_US |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.subject | คนพิการ -- สิ่งอำนวยความสะดวก -- วิจัย | en_US |
dc.subject | เครื่องช่วยแปรงฟัน -- การออกแบบ | en_US |
dc.subject | ผู้พิการ | en_US |
dc.title | การออกแบบและพัฒนาเครื่องช่วยแปรงฟันสำหรับบุคคลพิการ | en_US |
dc.title.alternative | Design and Improvement Toothbrush Machine for Disable People | en_US |
dc.type | Research | en_US |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Design and Improvement Toothbrush Machine for Disable People.pdf | การออกแบบและพัฒนาเครื่องช่วยแปรงฟันสำหรับบุคคลพิการ | 11.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.