Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1851
Title: | ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสภาพอากาศต่อปริมาณน้ำท่าผิวดิน (กรณีศึกษาลุ่มน้ำฝาง จังหวัดเชียงใหม่) |
Authors: | ดวงทิพย์ ฤคณีย์ ทรงวุฒิ แสงจันทร์ |
Keywords: | การใช้ที่ดิน น้ำท่าผิวดิน scs-cn method |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้ได้ทำการตรวจสอบผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสภาพอากาศที่มีต่อปริมาณน้ำท่าผิวดินของลุ่มน้ำฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ที่ดิน และสภาพอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำช่วงปี พ.ศ.2544-2553 ทำการประเมินปริมาณน้ำท่าผิวดินโดยใช้วิธี scs-cn method จากแผนที่การใช้ที่ดินได้ทำการตรวจสอบการเปลี่ยนการใช้ที่ดินในช่วงปี พ.ศ.2544-2548 และช่วงปี พ.ศ.2548-2553 พบว่าในช่วงปีดังกล่าวมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน คือจาก พื้นที่ป่าไม้เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตร และจากพื้นที่ทำการเกษตรเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน จากการคำนวณปริมาณน้ำท่าผิวดินพบว่าในปี พ.ศ.2544 มีปริมาณ 987.80 มิลลิเมตร โดยพบว่ามีปริมาณลดลงเป็น 595.95 มิลลิเมตร ในปี พ.ศ.2548 และมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 901.42 มิลลิเมตร ในปี พ.ศ.2553 จากผลการประเมินน้ำท่าผิวดินโดยใช้ค่าเฉลี่ยของปริมาณฝนแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณฝนกับน้ำท่า พบว่าปริมาณน้ำฝนเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำท่าผิวดินโดยที่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างอุณหภูมิกับปริมาณน้ำท่าผิวดินในการศึกษาครั้งนี้ ดังนั้นการจัดการอนุรักษ์ดินและน้ำจึงมีความจำเป็นที่จะดำเนินการกับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำ อันได้แก่ ปริมาณน้ำท่าผิวดิน และปัญหาการขาดแคลนน้ำ |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1851 |
Appears in Collections: | ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TSWE-01 p708-712.pdf | ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสภาพอากาศต่อปริมาณน้ำท่าผิวดิน (กรณีศึกษาลุ่มน้ำฝาง จังหวัดเชียงใหม่) | 838.08 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.