Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/153
Title: | การใช้จุลินทรีย์และซีโอไลท์ในการลดปริมาณไนโตรเจนจากการเลี้ยงปลาดุกระบบปิด |
Other Titles: | Utilization of Microorganisms and Zeolite for Reduction of Nitrogen in Closed Catfish Culture Systems |
Authors: | สุจยา ฤทธิศร อรวรรณ ชื่นคุ้ม เดชา นาวานุเคราะห์ จุไรรัตน์ ดวงเดือน |
Keywords: | ปลาดุก--การเลี้ยง--วิจัย, จุลินทรีย์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Abstract: | การศึกษาการใช้จุลินทรีย์และซีโอไลท์เพื่อลดปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจน และไนโตรท์ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์อีเอ็ม และซีโอไลท์ในห้องปฏิบัติการ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำการศึกษาพีเอช ระยะเวลา และปริมาณที่เหมาะสม ส่วนที่ 2 ศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์อีเอ็มและซีโอไลท์ในบ่อเลี้ยงปลาดุกอุยเทศ โดยทดลองเลี้ยงปลาดุกอุยเทศในบ่อพลาสติกระบบปิด โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) แบ่งเป็น 4 กลุ่มการทดลอง กลุ่มละ 3 ซ้ำ คือ บ่อควบคุม บ่อใส่ซีโอไลท์ บ่อใส่จุลินทรีย์ และบ่อใส่จุลินทรีย์อีเอ็ม และซีโอไลท์ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่าจุลินทรีย์อีเอ็มมีความสามารถในการลดแอมโมเนียไนโตรเจนได้ในช่วงพีเอช 6 ถึง 9 และประสิทธิภาพในการลดแอมโมเนียไนโตรเจนจะมีมากขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์อีเอ็ม และเพิ่มระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา ส่วนซีโอไลท์มีความสามารถในการลดแอมโมเนียไนโตรเจนได้ดีที่พีเอช 7 และประสิทธิภาพในการลดแอมโมเนียไนโตรเจนจะมีมากขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณซีโอไลท์ และเพิ่มระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา สำหรับการศึกษาในบ่อเลี้ยงปลาดุกอุยเทศพบว่า ค่าแอมโมเนียไนโตรเจนในสัปดาห์สุดท้ายของการทดลองบ่อควบคุม บ่อใส่ซีโอไลท์ บ่อใส่จุลินทรีย์อีเอ็ม และบ่อที่ใส่จุลินทรีย์อีเอ็มและซีโอไลท์มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ในทุกกลุ่มการทดลอง การใช้จุลินทรีย์อีเอ็มและซีโอไลท์ไม่มีผลต่อการลดปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจน จากการเลี้ยงปลาดุกอุยเทศในระบบปิด ส่วนไนโตรท์พบว่าในสัปดาห์สุดท้ายของการทดลองทั้ง 4 กลุ่มทดลองมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ปริมาณของไนโตรท์ทุกกลุ่มการทดลองมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาดุก ซึ่งกำหนดไว้ว่าค่าไนโตรท์ต้องไม่เกิน 0.85 มิลลิกรัมต่อลิตร เนื่องจากไนโตรเจนจะมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นไนโตรท์อย่างรวดเร็วทำให้มีปริมาณสะสมในน้ำน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มและซีโอไลท์ในการเลี้ยงดุกอุยเทศไม่มีผลต่อน้ำหนักปลา ความยาวของปลา อัตราการรอดตาย อัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ เพราะฉะนั้นในการเลี้ยงปลาดุกอุยเทศจึงไม่จำเป็นต้องใส่จุลินทรีย์อีเอ็มหรือซีโอโลท์ในระหว่างการเลี้ยงดุกอุยเทศ A study of microorganism and zeolite for reduction of nitrogen in forms of ammonia - nitrogen, the experimental planning were divided in 2 parts. The preliminary experiment using synthetic wastewater was to study efficiency of EM microorganisms and zeolite for reduction of ammonia – nitrogen of 0.5 mg/l by laboratory experiment, the secondary experiment was study efficiency of EM microorganisms and zeolite in closed catfish culture systems. The experimental planning was completed randomized design which divided in to 4 treatments with 3 replication of each. They were control (T1), Using zeolite (T2), Using EM microorganisms (T3), and Using EM microorganisms and zeolite (T4). Data were collected on the basis of 16 weeks. From the laboratory experiment shown that EM microorganisms had an ability to reduce ammonia – nitrogen in pH range 6.0 – 9.0, this ability has risen up when adding more EM microorganisms and increasing the operating time, zeolite presented the same results but the best ability in reducing ammonia – nitrogen is at pH 7.0. Studying catfish pools in the last week of experiment demonstated that the amount of ammonia – nitrogen from all pools have significant different in static (P > 0.05), Using EM microorganisms and zeolite had not made any effects in reducing the amount of ammonia – nitrogen from feeding catfish in closed system, nitrite had presented the same results, the amount of nitrite from all experiment groups had lower the water standard level which the nitrite value was specified not exceed 0.85 mg/l for feeding catfish. This is because ammonia – nitrogen had rapidly transformed into nitrite. The experiment also found that feeding catfish by using EM microorganisms and zeolite did not make any effects for weight, length, survival rate and food conversion ratio, therefore, using EM microorganisms and zeolite was unnecessary for feeding catfish over feeding period. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/153 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2.Abstract.pdf | การใช้จุลินทรีย์และซีโอไลท์ในการลดปริมาณไนโตรเจนจากการเลี้ยงปลาดุกระบบปิด | 334.27 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.