Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1284
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุรศักดิ์ ทิมพิทักษ์ | |
dc.date.accessioned | 2014-01-31T08:31:02Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T06:35:46Z | - |
dc.date.available | 2014-01-31T08:31:02Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T06:35:46Z | - |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1284 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้เน้นการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ดำนำควบคุมระยะไกลที่ขับเคลื่อนด้วย 4ใบพัดและควบคุมด้วยจอยสติ๊กผ่านสายสัญญาณ RS-485 ระบบทั้งหมดนี้สามารถขนย้ายได้ง่ายและสะดวก สามารถสำรวจได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็มพร้อมกับความสามารถในการรักษาระดับความลึกด้วยการใช้การควบคุมแบบ PID ระบบควบคุมของหุ่นยนต์ดำนำใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับเซนเซอร์วัดความดัน เซนเซอร์เข็มทิศ เซนเซอร์วัดความเร่ง และเซนเซอร์วัดความเร็วเชิงมุม พร้อม กล้องวีดีโอ เพื่อที่จะให้สามารถนำค่ามาประมาณทิศทางการหันเหได้ทั้งใน 3 ทิศทางอิสระใต้น้ำและผู้ปฏิบัติการยังสามารถเห็นสิ่งแวดล้อมจากใต้น้ำนี้ได้จากจอมอนิเตอร์ การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนแรกจะเป็นการทดสอบแรงที่ได้จากใบพัดด้วยช่วยในการออกแบบหุ่นยนต์ดำนำ ในส่วนที่สองจะเป็นการทดลองควบคุมรักษาระดับความลึกของหุ่นยนต์ดำนำควบคุมระยะไกลด้วยระบบควบคุมแบบ PID โดยป้อนกลับระดับความลึกจากเซนเซอร์ วัดความดัน โดยสั่งงานผ่านจอยสติ๊ก ส่วนที่สามได้ใช้วิธีกรองสัญญาณแบบคาร์มาน (Kalman Filter)มาช่วยประมาณค่าองศาการหันเหใน 3 ทิศทางโดยใช้ MATLAB ในการทดลองได้ประมาณค่าองศา การหันเหโดยการบูรณาการข้อมูลจากเซนเซอร์วัดความเร็วเชิงมุมและเซนเซอร์เข็มทิศแบบดิจิตอล แรงที่ได้จากใบพัดนั้นมีความเป็นเชิงเส้นตามค่าสัญญาณพัลส์ที่ป้อนโดยมีความแม่นยำ 95 เปอร์เซนต์ จากการทดสอบจริงในสระว่ายนำ หุ่นยนต์ดำนำสามารถรักษาระดับความลึกได้ตามคำสั่ง โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนประมาณร้อยละ 20 เนื่องจากเซนเซอร์มีสัญญาณรบกวนจากสิ่งแวดล้อมและลักษณะการวางตำแหน่งของเซนเซอร์และใบพัด ส่วนการประมาณค่าขององศาการหันเหด้วยวิธีกรองสัญญาณแบบคาร์มาน ได้ทดสอบด้วยโปรแกรม MATLAB และไมโครคอนโทรเลอร์ สามารถประมาณทิศทางการหมุนใน 3 แกน มีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำสุดที่ 0.4773 เปอร์เซ็นต์ ในสถานะคงที่ | en_US |
dc.language.iso | Thai | en_US |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | en_US |
dc.subject | หุ่นยนต์ดำน้ำ | en_US |
dc.subject | ยานดำนำควบคุมระยะไกล | en_US |
dc.subject | การควบคุมความลึก | en_US |
dc.subject | กรองสัญญาณแบบคาร์มาน | en_US |
dc.title | หุ่นยนต์ดำน้ำควบคุมระยะไกลและควบคุมความลึก | en_US |
dc.title.alternative | Remotely operated vehicle with depth control | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ThesisSurasak.pdf | หุ่นยนต์ดำน้ำควบคุมระยะไกลและควบคุมความลึก | 10.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.