Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/492
Title: การประเมินศักยภาพการนำความร้อนทิ้งมาใช้ในการอบกากอ้อยในโรงงานน้ำตาล
Other Titles: Potential Assessment for Bagasse Drying using Heat Recovery in Sugar Factory
Authors: ประพนธ์ ชูประเสริฐ
เทอดเกียรติ ลิมปิทีปราการ
Keywords: การนำความร้อนกลับมาใช้
อบแห้ง
โรงงานน้ำตาล
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Abstract: บทความนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำความร้อนทิ้ง จากกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าในโรงงานน้ำตาลขนาดอัตราการ หีบอ้อย18,000 ตันอ้อยต่อวัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแหล่งพลังงาน ความร้อนทิ้งมาใช้ในการอบลดความความชื้นกากอ้อย และประเมิน พลังงานที่สามารถประหยัดได้ ในการวิเคราะห์การใช้พลังงานจะเริ่มต้น โดยการทำสมดุลพลังงานและมวลสำหรับกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย และกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ระดับความดันไอน้ำของเครื่อง กำเนิดไอน้ำ 41 บาร์ อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส ความดันออกจาก กังหันไอน้ำเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาล 2.5 บาร์ อุณหภูมิ 127 องศา เซลเซียส จากการประเมินเปรียบเทียบปริมาณพลังงานความร้อนที่ ระบายอออกมาระหว่างปล่องควันเครื่องกำเนิดไอน้ำ กับทางออกของ กังหันไอน้ำชนิดคอนเดนเซอร์ จากการศึกษาพบว่า พลังงานความร้อน ที่ได้จากทางออกของกังหันไอน้ำชนิดคอนเดนเซอร์สามารถนำมาใช้ลด ความชื้นให้กับเชื้อเพลิงกากอ้อยได้ นอกจากนี้จากการประเมินเบื้องต้น พบว่า เชื้อเพลิงกากอ้อยเมื่อความชื้นลดลงจาก 50% มาตรฐานเปียก เหลือ 40% มาตรฐานเปียก จะส่งผลให้ อัตราการป้อนเชื้อเพลิงกาก อ้อยลดลงจาก 71.0 ตันต่อชั่วโมง เหลือ 56.3 ตันต่อชั่วโมง สามารถ ประหยัดเชื้อเพลิงกากอ้อยได้ 95,550 ตันต่อปี คิดเป็นอัตราการผลิตไอ น้ำได้ 215,895 ตันต่อปี จะสร้างรายได้ให้กับโรงงาน เพิ่มขึ้นจากการ ขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า ประมาณ 86,733,812 บาทต่อปี และมี ระยะเวลาคืนทุน 1.1 ปี
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/492
Appears in Collections:ประชุมวิชาการ (Proceedings)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
การประเมินศักยภาพการนำความร้อนทิ้งมาใช้ในการอบกากอ้อยในโรงงานน้ำตาล.pdfการประเมินศักยภาพการนำความร้อนทิ้งมาใช้ในการอบกากอ้อยในโรงงานน้ำตาล1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.