Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4542
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัยของ บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: Factor Affecting of Individual Development in Research of Personnel at Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Authors: พรชลิศา ยะจะนะ
Keywords: สมรรถนะรายบุคคล
การวิจัย
การพัฒนาบุคลากร
คุณลักษณะสมรรถนะของบุคลากร
ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะ
Individual performance
Research
Personnel development
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะศิลปศาสตร์.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัยของบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ที่แตกต่างกัน และการได้รับพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัย 2) ศึกษาคุณลักษณะสมรรถนะของบุคลากรที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัยของบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 3) ศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลมีอิทธิพลต่อการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัยของบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ บุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสอบถามที่หาค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้ค่า IOC เท่ากับ 1.00 และ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) และสมการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) เปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัยของบุคลากรการพัฒนารายบุคคลด้านการวิจัย พบว่า การพัฒนารายบุคคลด้านการวิจัย คือจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และท่านต้องการได้รับการพัฒนารายบุคคล ด้านการวิจัย คือ การเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ มีระยะเวลาที่ต้องการได้รับการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัย 1-2 วัน 2) ศึกษาคุณลักษณะสมรรถนะของบุคลากรที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัยของบุคลากร พบว่า คุณลักษณะสมรรถนะของบุคลากร ประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคล รองลงมา ด้านความรู้ และด้านทักษะ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อ การพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลมีอิทธิพลต่อการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัยของบุคลากร พบว่า ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัย ประกอบด้วย ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน ด้านแรงจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านแรงจูงใจในการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย รองลงมา ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัยของบุคลากรคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาใน การทำงานและประสบการณ์ทำงานวิจัย จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุขั้นตอน เพื่อหาตัวแปรที่มีอำ นาจในการทำ นายคุณลักษณะสมรรถนะของบุคลากร พบว่า 2) ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัยของบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีค่าสัมประสิทธิถอถอย เท่ากับ .54 เมื่อพิจารณารายด้านได้แก่ ด้านความรู้ 248 และด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคล 486 อย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลด้านการวิจัยของบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีค่าสัมประสิทธิถอถอย เท่ากับ .63 เมื่อพิจารณารายด้านได้แก่ ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน .09 ด้านแรงจูงใจ .58 อย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดอบรม ด้านการทำวิจัยหลากหลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่เชิงปริมาณอย่างเดียว
The purposes of this research were: 1) To compare the different personal factors. And the development of individual competency in research. 2) To study personnel competency influenced the development of individual competency in research. 3) To study the factors influenced the development of individual competency in research. The sample group was of 135 Faculty of Liberal Arts personnel, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The instrument used to collect the data was a questionnaire with an IOC of 1.00 and a confidence factor of 0.97 The data was analyzing by percentage, mean, standard deviation. Test hypothesis with Correlation and Multiple Linear Regression. The research results found that 1) Comparison of the development of individual competence in research of personnel, individual development in research found that individual development in research is human research ethics and you want to receive individual development in research is writing research articles for publication at the national and international levels. The time period you want to receive individual development in research is 1-2 days. 2) Study the characteristics of personnel competence that influence the development of individual competence in research of personnel found that the characteristics of personnel competence consist of knowledge, skills, and individual characteristics in general are at a high level. When considering each aspect, they are at a high level in every aspect, ranked from highest to lowest average, including individual characteristics, followed by knowledge and skills. 3) Study the factors that support the development of individual competence that influence the development of individual competence in research of personnel found that the factors that support the development of research competence include support from the unit, motivation in general is at a high level. When considering each item, they are at a high level in every item, ranked from highest to lowest average, including motivation to develop research competence, followed by support from the unit. The results of the hypothesis testing found that 1) Different personal factors affect the development of individual competence in research of Faculty of Liberal Arts personnel. Rajamangala University of Technology Thanyaburi, which are statistically significant at 0.05, are age, education level, working period, and research experience. From the multiple regression analysis to find the variables that have the power to predict the characteristics of personnel competence, it was found that 2) The factors that facilitate the development of research competence that are related to the factors that affect the development of individual research competence of personnel, Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, have a regression coefficient of .54 when considering each aspect, namely knowledge 248 and personal characteristics 486, which are statistically significant at the 0.05 level. And 3) The factors that facilitate the development of research competence that are related to the factors that affect the development of individual research competence of personnel, Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, have a regression coefficient of .63 when considering each aspect, namely support from the organization .09 and motivation .58, which are statistically significant at the 0.05 level. Recommendations There should be training in research in various forms, not just quantitative.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4542
Appears in Collections:วิจัย (Research - LARTS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20250219-R2R-Pornchalisa Y.pdfFactor Affecting of Individual Development in Research of Personnel at Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.