Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4415
Title: การพัฒนามาตรวัดความเกี่ยวพันของพนักงาน บริษัท ดราโก้ พีซีบี จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Development of a Quantitative Scale to Evaluate Employee Engagement at Draco PCB Public Company Limited
Authors: ธนดล พิมพ์พา
Keywords: การพัฒนามาตรวัด
ความเกี่ยวพันของพนักงาน
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
development of measurement scale
employee engagement
confirmatory factor analysis
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการทั่วไป.
Abstract: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนามาตรวัดความเกี่ยวพันของพนักงาน บริษัท ดราโก้ พีซีบี จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของความเกี่ยวพันของพนักงาน บริษัท ดราโก้ พีซีบี จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัท ดราโก้ พีซีบี จำกัด (มหาชน) จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดและทฤษฎีก่อนหน้าซึ่งผ่านผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และการตรวจสอบความน่าเชื่อถือก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบแบบจำลองโครงสร้างด้วยการยืนยันองค์ประกอบ (Confirmatory factor analysis) ผลการวิจัย พบว่า ความเกี่ยวพันของพนักงาน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ความขยันขันแข็ง 2) ความทุ่มเทในการทำงาน 3) ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงาน การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความเกี่ยวพันของพนักงาน พบว่า ระดับความเกี่ยวพันของพนักงานในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (X̅= 4.191) อยู่ในระดับสูง สมการโครงสร้างความเกี่ยวพันของพนักงาน มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 117.206, องศาอิสระ (df) เท่ากับ 95, p-value เท่ากับ 0.061, ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.027, ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.017, ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.959, ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลือนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.933 จากผลการวิเคราะห์ข้างต้น องค์การควรศึกษาและเข้าใจถึงแนวคิดความเกี่ยวพันของพนักงาน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารทรัพยากรบุคคล และนำข้อมูลที่ได้มาประเมินพฤติกรรมของพนักงานระหว่างร่วมงานกับองค์การ เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
The purposes of this independent study were: 1) to study and develop a quantitative scale for evaluating employee engagement at Draco PCB Public Company Limited, and 2) to examine its structural validity for evaluating employee engagement at Draco PCB Public Company Limited. The sample group used in this study comprised 340 employees who worked at Draco PCB Public Company Limited. The research instrument used to collect data was a questionnaire developed from previous concepts and theory that was tested for its content validity and reliability before performing data collection. The statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, and structural equation modeling. The study results revealed that there were three elements related to employees’ engagement, namely vigor, dedication and absorption. The overall average employees’ engagement was at the high level (X̅ = 4.191). The value of the structural equation modeling was harmonious with the empirical data, in that χ2 = 117.206, df = 95, p-value = 0.061, RMSEA = 0.027, RMR = 0.017, GFI = 0.959, and AGFI = 0.933. From the above analysis results, organizations should study to understand the concepts of employee engagement, which can then be adopted as a human resource management tool, evaluate employee behavior when working with the organization, and finally, to find ways to enhance and maximize employees' working capabilities.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4415
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-176236.pdfDevelopment of a Quantitative Scale to Evaluate Employee Engagement at Draco PCB Public Company Limited3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.