Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4396
Title: | การพัฒนาเอนแคปซูเลตน้ำมันสกัดรกจันทน์เทศด้วยการทำแห้งแบบพ่นฝอย |
Other Titles: | Development of Encapsulated Extracted Mace (Myristica Fragrans Houtt.) Oil by Spray Drying |
Authors: | รัฐภูมิ จันทะผล |
Keywords: | จันทน์เทศ เอนแคปซูเลตน้ำมันสกัดรกจันทน์เทศ กัมอราบิก มอลโทเดกซ์ทริน |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีการเกษตร. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร. |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมอิมัลชันน้ำมันสกัดรกจันทน์เทศ 2) ศึกษาผลกระทบอุณหภูมิลมร้อนขาข้าวของเครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอยต่อร้อยละผลผลิต และคุณภาพของเอนแคปซูเลตน้ำมันสกัดรกจันทน์เทศ 3) ศึกษาชนิดของไฮโดรคอลลอยด์ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของเอนแคปซูเลตน้ำมันสกัดรกจันทน์เทศ และ 4) ติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างการเก็บรักษาเอนแคปซูลเลตน้ำมันสกัดรกจันทน์เทศ
สภาวะการเตรียมอิมัลชันด้วยกัมอราบิก (20%) ทำให้ได้อิมัลชันที่มีความสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียว มีปริมาณของแข็งที่ละลายได้เท่ากับ 17 °Brix การเตรียมเอนแคปซูเลต น้ำมันสกัดรกจันทน์เทศด้วยกระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอยที่ระดับอุณหภูมิลมร้อนขาเข้าที่แตกต่างกัน มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าวอเทอร์แอคทิวิตี้ และร้อยละผลผลิต (p<.05) โดยอุณหภูมิลมร้อนขาเข้า 180 °C ทำให้ได้เอนแคปซูเลตน้ำมันสกัด รกจันทน์เทศที่เป็นผงแห้งกระจายตัวได้ดี มีค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ ผลผลิตที่ผลิตได้เท่ากับ 0.14 และ 18.45% ตามลำดับ การเตรียมเอนแคปซูเลตน้ำมันสกัดรกจันทน์เทศโดยใช้ไฮโดรคอลลอยด์ที่ทำหน้าที่เป็นสารห่อหุ้มต่างชนิดกันมีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าสี ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูอิสระ (p<.05) การใช้กัมอราบิก (20%) เป็นสารห่อหุ้ม เป็นสภาวะที่เหมาะสมทำให้ได้เอนแคปซูเลตน้ำมันสกัดรกจันทน์เทศ ผงแห้งสีขาวอมเหลือง มีค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีแดง (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) เท่ากับ 84.48, 6.51 และ 26.18 ตามลำดับ ค่าความหนาแน่นรวมเท่ากับ 0.39 g/cm3 ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระมีค่าเท่ากับ 0.53 g GAE/g และ 155.32 μg AAE/g ตามลำดับ ตรวจพบสารระเหยสำคัญประเภทเทอร์ปีน และอนุพันธ์ 7 ชนิด ได้แก่ Terpinolene, 4-Terpineol acetate, α-pinene, Isoeugenol, Myristicin, Elemicin และ Methoxy eugenol ระยะเวลาการเก็บรักษามีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการลดลงของปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของเอนแคปซูเลตน้ำมันสกัดรกจันทน์เทศ (p<.05) โดยในวันที่ 28 ของการเก็บรักษา พบปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระมีค่าเท่ากับ 0.30 g GAE/g และ 96.34 μg AAE/g ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในแต่ละช่วงวันของการเก็บรักษาการทำเอนแคปซูเลตสามารถรักษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ (p<.05) The aims of this research were to: 1) study the optimal conditions for the preparation of mace oil emulsion, 2) examine the effect of inlet temperatures of spray drying on the production yield and the quality of encapsulated extracted-mace oil, 3) identify the types of hydrocolloids affecting the quality of encapsulated extracted-mace oil, and 4) investigate the change of the quality of encapsulated extracted-mace oil during storage. The emulsion prepared by gum Arabic (20%) showed a homogeneous texture with total soluble solids of 17 °Brix. The different inlet temperatures had a statistically significant effect on water activity (aw) and production yield (p<.05). The temperature at 180 °C resulted in optimal dispersion of the encapsulated extracted-mace oil powder with water activity and production yield at 0.14 and 18.45, respectively. The color, total phenolic content and antioxidant activity of the encapsulated extracted-mace oil were affected by the different types of hydrocolloids (coating material) (p<.05). The optimal condition of preparing the mace oil emulsion by gum Arabic (20%) resulted in yellowish white powder. The lightness (L*), redness (a*) and yellowness (b*) were 84.48, 6.51 and 26.18, respectively. The bulk density was at 0.39 g/cm3. The total phenolic content and antioxidant activity were 0.53 g GAE/g and 155.32 μg AAE/g, respectively. Seven volatiles and their derivatives were identified They were Terpinolene, 4-Terpineol acetate, α-pinene, Isoeugenol, Myristicin, Elemicin and Methoxy eugenol. The storage times revealed a statistically significant effect on the reduction of the total phenolic content and the antioxidant activity of the encapsulated extracted-mace oil (p<.05). On the 28th day, the total phenolic content and the antioxidant activity were at 0.30 g GAE/g, 96.34 μg AAE/g, respectively. The different amounts of the total phenolic content and the antioxidant activity on different days of storage showed that encapsulation was effective in maintaining total phenolic content and antioxidant activity (p<.05). |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4396 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - AGR) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-176220.pdf | การพัฒนาเอนแคปซูเลตน้ำมันสกัดรกจันทน์เทศด้วยการทำแห้งแบบพ่นฝอย | 2.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.