Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4391
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กัญญารัตน์ แหยมแก้ว | - |
dc.date.accessioned | 2024-06-18T08:16:40Z | - |
dc.date.available | 2024-06-18T08:16:40Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4391 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 3) เพื่อทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 และ 4) เพื่อจัดทาคู่มือการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมการพัฒนา คือ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ที่สมัครใจเข้าร่วมทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครู จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและ ค่า t-test (การทดสอบที) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน มี 4 องค์ประกอบ จานวน 23 ตัวชี้วัด ยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้น ผลการประเมินโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการนำโปรแกรมไปใช้ พบว่า ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียนก่อนการพัฒนามีค่าเฉลี่ย 11.66 คิดเป็นร้อยละ 58.3 และมีคะแนนหลังการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน มีค่าเฉลี่ย 17.1 คิดเป็นร้อยละ 85.5 ครูมีความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรม โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด | en |
dc.language.iso | Thai | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. | en |
dc.subject | การพัฒนาโปรแกรม | en |
dc.subject | เสริมสร้างสมรรถนะครู | en |
dc.subject | การบริหารจัดการชั้นเรียน | en |
dc.title | การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 | en |
dc.title.alternative | Developing a Program to Enhance Teachers’ Competency on Classroom Management for Schools under Sa Kaeo Primary Educational Service Area Office 1 | en |
dc.type | Thesis | en |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-176212.pdf | การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.