Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4282
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นริสา ชุมทอง | - |
dc.date.accessioned | 2024-01-23T07:33:07Z | - |
dc.date.available | 2024-01-23T07:33:07Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4282 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 175 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบตอบสนองคู่ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าดัชนีการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และแบบสัมภาษณ์ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีดังนี้ (1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีส่วนร่วมในการประชุมทบทวนพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการจัดสรรของบประมาณ (2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องมีส่วนร่วมในการประสานความร่วมมือ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและระดมทรัพยากรทางการศึกษา (3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องมีส่วนร่วมในประสานงานความร่วมมือ และได้รับการตอบรับจากชุมชน ทั้งในด้านการศึกษาวิชาการ และด้านทักษะวิชาชีพต่าง ๆ เป็นผู้นำและเป็นตัวแทนของชุมชนในพื้นที่ นอกจากนั้นยังต้องมีบทบาทในการติดต่อประสานงานความร่วมมือระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาในการดำเนินหรือกิจกรรมโครงการต่าง ๆ | en |
dc.description.abstract | The objectives of this research were to study: 1) the present condition and desirable condition of basic educational committee’s participation in academic administration of the educational expansion school under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office and 2) guidelines for the development of basic educational committee’s participation in academic administration of the educational expansion school under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office. The sample for the questionnaire included 175 basic educational committee in academic administration of the educational expansion school under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office for the academic year 2021, obtained by the stratified random sampling. The interviewees were 6 school administrators. The research tools consisted of a questionnaire with dual response format and an interview form. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Priority Need Index, and content analysis for interview data. The study results showed that: 1) the present condition and desirable condition of basic educational committee’s participation in academic administration of the educational expansion school under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office was, overall, at a high level and 2) guidelines for the development of basic educational committee’s participation in academic administration of the educational expansion school under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office were as follows: (1) the basic educational committee should participate in a review meeting and give suggestion for budget allocation, (2) the basic educational committee should have cooperation, give opinions and recommendations to promote and assemble educational resources, and (3) the basic educational committee must coordinate with community, receive feedback concerning academic and professional skills from community, serve as leader or representative of local community, and liaise between community and educational institution for academic activities or projects. | en |
dc.language.iso | Tha | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | en |
dc.subject | การบริหารงานโรงเรียน | en |
dc.subject | การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน | en |
dc.subject | Participation | en |
dc.subject | School administration | en |
dc.title | แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร | en |
dc.title.alternative | Guidelines for development of basic educational committee’s participation in academic administration of educational expansion school under Samut Sakhon primary educational service area office | en |
dc.type | Thesis | en |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-175893.pdf | แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร | 5.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.