Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4122
Title: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และทักษะปฏิบัติท่ารำวงมาตรฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา โดยใช้รูปแบบการสอนจิ๊กซอว์ผสมผสานกับรูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ |
Other Titles: | A Comparison of Grade 3 Students’ Learning Achievement in Practical Dance After Studying with a Jigsaw Instruction Model Blended with Davi's Practical Skills Instruction Model at Sarasas Ektra School |
Authors: | ศริญญา สีเลา |
Keywords: | ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ รูปแบบการสอนแบบจิ๊กซอว์ ทฤษฎีปฎิบัติของเดวีส์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่เรียนรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์กับกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่เรียนรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์กับกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสารสาสน์เอกตรา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 59 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Group Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 29 คน และ กลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์รำวงมาตรฐานและแบบประเมินทักษะปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนรำวงมาตรฐาน โดยใช้รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะการปฏิบัติทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The research aimed to : 1) compare the learning achievement of grade 3 students learning the standard dancing by jigsaw teaching model combined with Davi’s practical skill theory before and after class, 2) compare the learning achievement and practical skills of the third grade students between the standard dancing groups using the jigsaw learning style and combining with Davi’s practical skills and the group studying with the conventional approach, and 3 ) compare the students’ practical skills between the standard dancing groups using the jigsaw learning pattern combining with Davi’s practical skills and the group studying with the conventional approach. The samples were 59 grade 3 students of 2 classes studying at Sarasas Ektra school in semester 1, academic year 2020 by group sampling method: 29 trial cases and 30 control cases. The instruments consisted of 8 standardized learning activities for grade 3 students, the learning management plans, the standard achievement tests, the standard achievement assessment form and the practical skill assessment form. The analyzing statistics were mean, standard deviation and t-test. It was found that: 1) students studying standard dancing by jigsaw teaching model combined with Davi’s theory of practical skills have higher academic achievement after studying than before studying. The study was statistically significant at .01 level. 2) The achievement of standard dancing groups using a jigsaw learning model combined with Davi’s practice skills was higher than the control group at .01 level. 3) The practical skills of students studying standard dancing with a jigsaw teaching combined with Davi’s theoretical practical skills were significantly higher than the control group at the .01 level. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4122 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - FA) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-170462.pdf | 5.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.