Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4097
Title: การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม :จังหวะ สีสัน รูปลักษณ์ ลวดลายในวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมภาคใต้
Authors: เจริญ ผิวนิล
Keywords: วิถีชีวิตภาคใต้
จิตรกรรม
จังหวะ
สีสัน
การสร้างสรรค์
ประเพณีวัฒนธรรม
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์จังหวะสันรูปลักษณ์ของวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีของชาวใต้"วัฒนธรรมเป็นเครื่องหล่อหลอมสมาชิกของสังคมให้เกิดความผูกพันสามัคคีและอบรมชัดเกลาให้มีทัศนคติความเชื่อและค่านิยมสอดคล้องกันนอกจากนี้วัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่มีได้หยุดนิ่งแต่หากเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไปตามยุคสมัยนำมาซึ่งแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางดันจิตรกรรมสีอะคริลิกและสื่อผสมที่เกี่ยวกับจังหวะสีสันรูปลักษณ์นวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมของภาคใต้และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีอะคริลิกและสื่อผสมที่สื่อความหมายในการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทยที่มีเอกลักษณ์แสดงออกถึงอิสรภาพและเสรีภาพ ซึ่งวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์พฤติกรรมของคนจะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ๆ วัฒนธรรมจะมีทั้งความศรัทธาความเชื่อคำนิยมบรรทัดฐานนำมาวิเคราะห์สู่กระบวนการสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะนั้นจำเป็นจะต้องมีการทดลองค้นคว้าหาวิธีในการแสดงออกที่ต้องอาศัยระยะเวลาเพื่อคันหารูปแบบและพัฒนาไปเป็นลำดับจากการวิจัยและพัฒนาเทคนิคจิตกรรมสีอะคริลิกและสื่อผสมชุดการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม:จังหวะ สีสัน รูปลักษณ์ ลาดลายในวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมภาคใต้เป็นกระบวนการทางเทคนิคการใช้สีสันประกอบกับการเลือกช้วัสดุอุปกรณ์มาผสมผสานเข้าด้วยกันเกิดเป็นผลงานรูปแบบศิลปะร่วมสมัยด้วยการประสานแนวความคิดเก่าและใหม่เชื่อมโยงระหว่างการอนุรักษ์และการสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามกระบวนการตามขั้นตอนการทำงานการสร้างสรรค์รูปแบบและแนวทางในการแสดงออกที่ตรงกับจุดมุ่งหมายโดยให้ความสำคัญกับเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและโดดเด่นของลวดลายนำมาซึ่งความประทับใจที่มุ่งเน้นจังหวะ สีสัน น้ำหนัก ระนาบของแสงเงา นำมาคลี่คลายตัดทอนรูปทรง ของการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ ด้วยการสร้างรูปลักษณ์ จากจังหวะ ระนาบแสงเงาประกอบกันเกิดผลงานสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์ใหม่สื่อความหมายถึงความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงประเพณีของชาวใต้ อันก่อให้เกิดสุนทรียภาพเชิงบวกแก่ผู้ดูและเป็นการเปิดมิติทางความคิดจากรูปแบบงานที่มีลักษณะเหมือนจริง (Realistic)แล้วคลี่คลายไปสู่รูปแบบงานที่มีลักษณะเป็นกึ่งนามธรรม (Semi-Abstract) ในการจัดองค์ประกอบตามทัศนคติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4097
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - FA)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-170436.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.