Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4022
Title: | พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Other Titles: | Understanding Perception and Satisfaction of Internal Media Usage in an Organization A Case Study: Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. |
Authors: | สุไบซะ จานงลักษณ์ |
Keywords: | พฤติกรรมการรับรู้, ความพึงพอใจ, สื่อประชาสัมพันธ์, Understanding Perception, Satisfaction, Media |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงปริมาณซึ่งศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี โดยมีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารภายในองค์กร และ (2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้นจำนวนรวม 500 ตัวอย่าง และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่ม ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา จำนวน 12 ตัวอย่าง ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารภายในองค์กรเพื่อประกอบการเลือกใช้สื่อ ประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม และสามารถนำผลการวิจัยไปปรับปรุงสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิจัยเชิงบรรยาย เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารภายในองค์กรของกลุ่มตัวอย่าง 500 คน พบว่าช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่กลุ่มตัวอย่างทราบมากที่สุดคือ เว็บไซต์/เฟสบุ๊ก/ไลน์ คิดเป็นร้อยละ 39.77 ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ประเภทเว็บไซต์/เฟสบุ๊ก/ไลน์ มีกลุ่มตัวอย่างเข้าไปติดตามมากที่สุด คือ ร้อยละ 85.32 บอร์ดประชาสัมพันธ์หน้าลิฟต์ได้รับความสนใจจากกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด คือ ร้อยละ 34.84 ความถี่ในการอ่านสื่อประชาสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะติดตามข่าวสารทุกวัน อยู่ที่ร้อยละ 52.20 และได้รับประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์ในด้านการเรียนการสอนมากที่สุด คือร้อยละ 35.19 และช่วงเวลาที่กลุ่มตัวอย่างเข้าไปติดตามมากที่สุด คือ ช่วงเวลา 08.00-12.00 น. คิดเป็นร้อยละ 28.65 (2) ระดับความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร พบว่าความพึงพอใจต่อช่องทางในการประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.96 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อยู่ที่ 0.54 ระดับความพึงพอใจมาก ความพึงพอใจต่อประโยชน์ที่ได้รับ ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 มีระดับความพึงพอใจมาก ส่วนความพึงพอใจต่อเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ย 3.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 มีระดับความพึงพอใจมาก Qualitative research was chosen to collect and analyze data which studied the understanding perception and satisfaction of internal media usage in the faculty of science and technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The objectives are (1) to study the level of understanding perception and (2) to study the level of satisfaction of internal media usage in an organization. This research was conducted by using questionnaires as a tool for collecting data in a total of 500 samples and conducting in-depth interviews of 12 samples with a group of administrators, professors, staff and students. In this research, the researcher focuses on the behavior of news perception within the organization in order to select the appropriate public relations media. After that, the research results were used to improve public relations in order to increase efficiency. The analysis of data used is descriptive research statistics such as frequency, percentage, mean, and standard deviation, including content analysis. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4022 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - SCI) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
20221004-Research-Subaisa_Jum.pdf | พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | 3.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.