Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3902
Title: การผลิตสื่อวีดิทัศน์โดยใช้การสื่อความหมายด้วยความกลัว เพื่อรณรงค์ยุติการกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยคำพูด
Other Titles: Videos Raising Awareness of Anti-Verbal Bullying Campaign
Authors: กายสิทธิ์ บุญญานุพงศ์
Keywords: วีดิทัศน์รณรงค์
การกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยคำพูด
การสื่อความหมายด้วยความกลัว
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อผลิตสื่อวีดิทัศน์รณรงค์ยุติการกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยคำพูดโดย ใช้การสื่อความหมายด้วยความกลัว 2) เพื่อศึกษาผลการรับรู้ของผู้รับสื่อ วิดีโอการรณรงค์ยุติการกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยคำพูด โดยใช้การสื่อความหมายด้วยความกลัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมปลาย โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก โดยการใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสื่อวีดิทัศน์รณรงค์ยุติการกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยคำพูดโดยใช้การสื่อความหมายด้วยความกลัว แบบสอบถามการรับรู้ก่อนและหลังรับชมที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์รณรงค์ยุติการกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยคำพูดโดยใช้การสื่อความหมายด้วยความกลัว และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการรับชมสื่อวีดิทัศน์รณรงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าที (t–test) ผลการศึกษาพบว่า 1. สื่อวีดิทัศน์รณรงค์ยุติการกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยคำพูดโดยใช้การสื่อความหมายด้วยความกลัวที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน คุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมีคุณภาพความเหมาะสมมาก ซึ่งสามารถนำสื่อที่พัฒนาขึ้นไปสู่กระบวนการทดลองศึกษาผลในการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 2. การวิเคราะห์ผลการรับรู้การรับชมสื่อวีดิทัศน์รณรงค์ยุติการกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยคำพูดโดยใช้การสื่อความหมายด้วยความกลัว พบว่า ก่อนรับชมสื่อ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.14 และ หลังการรับชมสื่ออยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.34 เมื่อเปรียบเทียบผลการรับรู้ก่อนและหลังรับชมโดยใช้สถิติค่าที (t–test) พบว่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ของผู้รับสื่อหลังการรับชมสูงกว่าก่อนการรับชมสื่อรณรงค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการรับชมสื่อวีดิทัศน์รณรงค์ยุติการกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยคำพูดโดยใช้การสื่อความหมายด้วยความกลัวที่พัฒนาขึ้น ในด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ และด้านการสื่อความหมาย โดยภาพรวมผู้รับชมมีความพึงพอใจในระดับมาก
The objectives of this research were 1) to produce videos to raise awareness of anti-verbal bullying campaign, and 2) to investigate the perception of video recipients about anti-verbal bullying campaign. Samples were 50 higher secondary school students at Mattayomwatnongchok school. They were selected by purposive sampling. The research instruments were videos to raise awareness of anti-verbal bullying campaign and a questionnaire to investigate before and after of the recipients’ perception on videos about anti-verbal bullying campaign. The statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, and t-test. The research results revealed that: 1. The videos of raising awareness on anti-verbal bullying campaign were evaluated by 3 experts. They were qualified with a high level and they could be conducted in the research. 2. The perception of video recipients about anti-verbal bullying campaign before the experiment was at a moderate level with mean of 3.14 and after was at a high level with mean of 4.34. The perception on raising awareness of anti-verbal bullying campaign after video exposure was higher than before video exposure at a statistically significant level of .05. 3. The satisfaction of the video recipients about anti-verbal bullying campaign on the content, design, and communication was a high level for overall.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3902
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - MCT)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-170584.pdfVideos Raising Awareness of Anti-Verbal Bullying Campaign1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.