Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3725
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนันท์ธนภัส อัศวณัฏฐกร-
dc.date.accessioned2020-12-04T08:44:00Z-
dc.date.available2020-12-04T08:44:00Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3725-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาที่มีผลต่อการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ (2) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาที่ผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (3) ศึกษาการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ (4) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 405 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test และ F-test ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีความคิดเห็นต่อสื่อประชาสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ พบว่า สื่อบุคคล ได้แก่ ผู้ปกครอง สื่อมวลชน ได้แก่ โทรทัศน์ สื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ การจัดกิจกรรมแนะแนว/นิทรรศการ และสื่อใหม่ ได้แก่ เว็บไซด์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คือสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า ปัจจัยด้านความสามารถส่วนบุคคล ได้แก่ ความถนัดทางวิชาชีพ และความรู้พื้นฐาน ปัจจัยด้านภูมิหลัง ได้แก่ ที่พักอาศัยในปัจจุบัน ปัจจัยด้านความคาดหวัง ได้แก่ การยกระดับคุณวุฒิเพื่อความเจริญก้าวหน้าด้านการงานที่ดีขึ้น และความภูมิใจของตนเองและครอบครัว และปัจจัยด้านอิทธิพลการจูงใจ ได้แก่ พ่อแม่/ผู้ปกครอง และความสนใจด้วยตนเอง คือปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ของผู้ปกครองโดยเฉลี่ยต่อเดือน คะแนนเกรดเฉลี่ยจากสถาบันการศึกษาเดิม แผนการเรียนจากสถาบันการศึกษาเดิม และสาขาวิชาที่กำลังศึกษาในปัจจุบัน มีผลต่อการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อคณะบริหารธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 และลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพผู้ปกครอง รายได้ของผู้ปกครองโดยเฉลี่ยต่อเดือน ภูมิลำเนาในปัจจุบัน คะแนนเกรดเฉลี่ยจากสถาบันการศึกษาเดิม แผนการเรียนจากสถาบันการศึกษาเดิม และสาขาวิชาที่กำลังศึกษาในปัจจุบัน มีผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อคณะบริหารธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05en
dc.description.abstractThe objectives of this research are (1) study the demography of students affecting perception of media public relations, (2) to study the demography of students affecting decision making to study at Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology (3) to study the perception of media public relate with Rajamangala University of Technology and (4) study the factors affecting decision making to study at Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology. 405 Samples were the existing students in Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology who were studying year 1 to year 4. The statistics techniques were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. The results showed the perception agreed media public relations in moderately. The media public relations perception influenced the decision making through Personal media (Parents), Mass media (TV), Specialized media (Activities exhibition), New media (website) had high average mean. Factors affecting decision making factors to study at Faculty of Business Administration, RMUTT revealed that personal capability such as aptitude, basic knowledge , background factors such as accommodation, Expectation factors such as esteem needs, belongingness and love needs, motivation factors such as parents and self interest had high average mean. The demography of students such as gender, age, income, G.P.A., study plan and department affected perception in media public relations affected the decision making factors to study at Faculty of Business Administration, RMUTT at 0.05. And the demography of students such as gender, age, occupation, income, background, G.P.A, study plan and department affected the decision making factors to study at Faculty of Business Administration, RMUTT at 0.05.en
dc.description.sponsorshipผู้ให้ทุน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีงบประมาณ 2559en
dc.language.isoThaien
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจen
dc.subjectการรับรู้en
dc.subjectสื่อประชาสัมพันธ์en
dc.subjectการตัดสินใจศึกษาต่อคณะบริหารธุรกิจen
dc.subjectThe Perceptionen
dc.subjectMedia Public Relationsen
dc.subjectDecision making to studyen
dc.titleการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีen
dc.title.alternativeThe perception of media public relations and factors affecting decision making to study at faculty of business administration, Rajamangala university of technology Thanyaburien
dc.typeResearchen
Appears in Collections:วิจัย (Research - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20201204-research-Nanthanapas_A 2559.pdfการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี4.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.