Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3486
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิชสุดา ตั้งทรงเจริญ
dc.date.accessioned2019-11-20T06:39:24Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:46:43Z-
dc.date.available2019-11-20T06:39:24Z
dc.date.available2020-09-24T04:46:43Z-
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3486-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเตรียมเซลลูโลสแคปซูลกักเก็บกรดแกลลิค ซึ่งเป็นองค์ประกอบ สำคัญในสารสกัดจากถั่วหรั่ง ด้วยการสังเคราะห์แบบแขวนลอยและมินิอิมัลชันในระบบน้ำในน้ำมัน สำหรับประยุกต์ใช้ในเครื่องสำอาง โดยใชคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (ซีเอ็มซี) เป็นเปลือก เพื่อการกักเก็บที่มีประสิทธิภาพสูง ขั้นตอนแรกจะปรับเปลี่ยนหมู่ฟังก์ชันของซีเอ็มซีให้มี พันธะคู่ ด้วย 3-(ไตรเมทอกซีไซลิล)โพรพิล เมทาคริเลท (เอ็มพีเอส) ซึ่งเป็นสารคู่ควบไซเลนที่ อัตราส่วนต่าง ๆ ของซีเอ็มซีต่อเอ็มพีเอส โดยทดสอบด้วย FT-IR และ [superscript1]H-NMR ซึ่งยืนยันการเปลี่ยน หมู่ของซีเอ็มซีได้สำเร็จ โดยเลือกอัตราส่วนร้อยละ 75:25 โดยน้ำหนัก เพื่อสังเคราะห์ในขั้นต่อไป เนื่องจากมีความสามารถในการละลายน้ำสูง จากนั้น นำซีเอ็มซีที่เปลี่ยนหมู่ (เอ็มซีเอ็มซี) กราฟท์กับ เมทาคริลิคแอซิด (เอ็มเอเอ) ผ่านพันธะ C=C จากเอ็มพีเอสได้เปลือกพอลิเมอร์ร่างแหของเอ็มซีเอ็มซี กราฟท์พีเอ็มเอเอ ที่เข้ากันได้ทางชีวภาพ โดยศึกษาอัตราส่วนระหว่างเอ็มซีเอ็มซีกับเอ็มเอเอ พบว่า ทุกสภาวะได้ไมโครแคปซูลทรงกลมที่มีความเสถียรและมีประสิทธิภาพการหุ้มสูง (ร้อยละ 59-78) โดยที่อัตราส่วนร้อยละ 33:67 โดยน้ำหนัก ได้ไมโครแคปซูลที่มีความเสถียรสูงและมีประสิทธิภาพ การกักเก็บสูงสุด (ร้อยละ 78) นำสภาวะที่เหมาะสมนี้ไปเตรียมนาโนแคปซูลด้วยการสังเคราะห์แบบ มินิอิมัลชัน โดยศึกษาร้อยละแอมพลิจูดที่เหมาะสมในการเตรียมหยดน้ำมัน พบว่าการอัลตราโซนิคที่ ร้อยละ 40 แอมพลิจูล ได้นาโนแคปซูลทรงกลมความเสถียรสูง และมีปริมาณกรดแกลลิคที่กักเก็บ (ร้อยละ 37) และประสิทธิภาพการกักเก็บ (ร้อยละ 73) สูงที่สุด การศึกษาการปลดปล่อยกรดแกลลิค ทั้งไมโครและนาโนแคปซูล พบว่าปลดปล่อยได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น การศึกษาความเป็นพิษด้วย MTT assay ที่ความเข้มข้นแคปซูลต่าง ๆ พบว่าไม่มีความเป็นพิษของไมโครแคปซูล นาโนแคปซูล และอนุภาคเอ็มซีเอ็มซี-กราฟท์-พีเอ็มเอเอในช่วง 0.0001-0.01 0.0001-0.1 และ 0.0001-1 มิลลิกรัม/ มิลลิลิตร ตามลำดับ ดังนั้น สามารถเตรียมทั้งไมโครและนาโนแคปซูลของกราฟท์โคพอลิเมอร์เอ็มซีเอ็มซีกับ พีเอ็มเอเอที่มีความเสถียรทางคอลลอยด์ มีการกักเก็บกรดแกลลิค และประสิทธิภาพการกักเก็บที่สูงได้ ซึ่งเหมาะกับการประยุกต์ใช้ในเครื่องสำอางในความเข้มข้นที่เหมาะสมและต้องการการปลดปล่อยที่เร็วและไม่เป็นพิษen_US
dc.description.abstractThis research focuses on the preparation of cellulose capsules encapsulating gallic acid (GA), an important component in Bambara groundnut extracts, by water in oil suspension and miniemulsion polymerizations for cosmetic application using carboxymethyl cellulose (CMC) as a shell. For high encapsulation performance, CMC was firstly modified to introduce double bond with 3-(trimethoxysilyl)propyl methacrylate (MPS) as a silane coupling agent named modified-CMC (m-CMC) at various ratios of CMC:MPS. The FTIR and [superscript1]H-NMR results confirmed the successful modification of CMC. The ratio of 75:25 (%w/w) was selected for further polymerization because of its high water solubility. Afterward, the m-CMC was subsequently graft copolymerized with methacrylic acid (MAA) monomer along with the C=C bonds from MPS and formed CMC-graftpolymethacrylic acid (m-CMC-g-PMAA) as a biocompatible polymer network shell. Various ratios of m-CMC:MAA were investigated. High stable spherical shape of m-CMC-g-PMAA microcapsules with high %encapsulation (59-78%) were found at all ratios. At the m-CMC:MAA ratio of 33:67 (%w/w), high stable microcapsules with the highest %encapsulation (78%) were obtained. The optimum condition of suspension polymerization was used for the preparation of nanocapsules via miniemulsion polymerization. The appropriate percentage of amplitude for oil droplet generation was studied. The ultrasonication at 40% amplitude presented spherical shape nanocapsules with high colloidal stability and the highest loading (37%) and %encapsulation (73%). The rapid controlledrelease of GA were found in both m-CMC-g-PMAA micro- and nanocapsules. Moreover, the cytotoxicity testing through MTT assay with various capsule concentrations showed the non-cytotoxic characteristics of m-CMC-g-PMAA microcapsules, nanocapsules and particles in a range of 0.0001-0.01, 0.0001-0.1 and 0.0001-1 mg/ml. Therefore, both of the m-CMC-g-PMAA micro- and nanocapsules encapsulated GA were successfully prepared with high colloidal stability, high loading and encapsulation efficiency. It is appropriate to apply in cosmetic application at appropriate concentration with satisfactory required rapid release and non-cytotoxic characteristic.
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาเคมีประยุกต์.en_US
dc.subjectคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสen_US
dc.subjectพอลิเมทาคริลิกen_US
dc.subjectแอซิดen_US
dc.subjectกรดแกลลิคen_US
dc.subjectการสังเคราะห์แบบแขวนลอยen_US
dc.subjectการสังเคราะห์แบบมินิอิมัลชันen_US
dc.titleการเตรียมเซลลูโลสแคปซูลหุ้มกรดแกลลิคสำหรับประยุกต์ใช้ในเครื่องสำอางen_US
dc.title.alternativePreparation of Cellulose-based Capsules Encapsulating Gallic Acid for Cosmetic Applicationen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - SCI)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-160397.pdfPreparation of Cellulose-based Capsules Encapsulating Gallic Acid for Cosmetic Application26.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.