Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3341
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเวชยันต์ ปั่นธรรม
dc.date.accessioned2018-11-21T06:02:37Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:45:00Z-
dc.date.available2018-11-21T06:02:37Z
dc.date.available2020-09-24T04:45:00Z-
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3341-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ก่อนและหลังการใช้สื่อโมชันกราฟิก เรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิก เรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัย ได้สร้างสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล แบบฝึกหัด แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินคุณภาพของสื่อ แบบประเมินความพึงพอใจจากสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทำการประเมิน 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ประเมินคุณภาพสื่อโดยใช้แบบประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน โดยผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าสื่อมีความเหมาะสม ในการเป็นสื่อโมชันกราฟิก เรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล อยู่ในระดับ ดี ( X = 4.46 , S.D. = 0.51) ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความรู้โดยใช้แบบทดสอบ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินความพึงพอใจ โดยใช้แบบระเมินความพึงพอใจ จากกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ระดับ ปวช. วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 30 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า ด้านประสิทธิภาพของสื่อ ก่อนการชมสื่อมีค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทดสอบ 4.63 คะแนน และหลังจากรับชมสื่อมีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบ 12.20 คะแนน และคะแนนจากการทำแบบฝึกหัดระหว่างรับชมสื่อมีคะแนนเฉลี่ย 12.53 คะแนน มาหาประสิทธิภาพสื่อ พบว่าสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล มีประสิทธิภาพ 83.55/81.33 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และนาค่าเฉลี่ยของคะแนนไปทดสอบความแตกต่างโดยใช้ t-test dependent พบว่าค่า t จากการคำนวณ = 23.34 ส่วนค่า t จากตารางที่ df = 30 -1 = 29 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 , t = 2.75 ดังนั้นค่า t จากการคำนวณสูงกว่าค่า t จากตาราง จึงสรุปได้ว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังรับชมสื่อสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนรับชมสื่อจริง ดังนั้นผลการศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ก่อนและหลังการใช้สื่อโมชันกราฟิก เรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล จึงมีความน่าเชื่อถือได้ 99% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 ทางด้านความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับดี ( X = 4.43 , S.D. = 0.60) และของนักศึกษา อยู่ในระดับ ดี ( X = 4.27 , S.D. = 0.74)en_US
dc.description.abstractThe aims of this experimental research were to 1) develop the 7.1 Surround Sound Motion Graphic to meet the efficiency standard level of 80/80, 2) compare its efficiency before and after using the media, and 3) find out students’ satisfaction towards the media. The research instruments consisted of the 7.1 Surround Sound Motion Graphic, exercises, a test paper, a quality assessment form, and a questionnaire asking about satisfaction. Three steps were carried out through the research. 1) Three experts were asked to evaluate the quality of the 7.1 Surround Sound Motion Graphic, and the result was at a high level (X = 4.46, S.D. = 0.51). 2). Thirty vocational students in the Computer Department of Chanthaburi Technical College selected by purposive sampling were asked to do the exercises and the test. 3) Both experts and students were asked to answer the questionnaire. It was found that before watching the 7.1 Surround Sound Motion Graphic, the average test scores of its efficiency were 4.6, while those after watching the media were 12.20. In addition, the while-watching scores were 12.53. When its efficiency level was calculated, it was at 83.55/81.33 – higher than that of the standard one (80/80). The dependent score (t-test dependent) indicated that the t scores from the calculation were 23.34 while those from the table (df =30 -1 = 29 at 0.01 level of significance) were 2.75. In short, the t scores from the calculation were higher than those from the table. The result of the comparison had 99 percent of reliability and a statistical significance of 0.01. The level of satisfaction of the experts was at a high level (X = 4.43, S.D. = 0.60), and that of the students was also at a high level (X = 4.27, S.D. = 0.74).en_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน. สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนen_US
dc.subjectโมชันกราฟิกen_US
dc.subjectระบบเสียงรอบทิศทางen_US
dc.subjectการผลิตสื่อen_US
dc.titleการผลิตสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนลen_US
dc.title.alternativeProduction of motion graphic media 7.1 channel surround sound systemen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - MCT)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-158693.pdfการผลิตสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล5.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.