Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/318
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อังคณา ธนกัญญา | |
dc.contributor.author | ธีรนุช เจริญกิจ | |
dc.contributor.author | วรินธร ยิ้มย่อง | |
dc.date.accessioned | 2012-01-20T04:19:49Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T07:35:08Z | - |
dc.date.available | 2012-01-20T04:19:49Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T07:35:08Z | - |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/318 | - |
dc.description.abstract | การห่อช่อผลลำไยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการทำลายจากศัตรูพืช และเพิ่มความสวยงามของสีผิวดำเนินการโดยคัดเลือกสิ่งทอประเภทนันวูฟเว่นประเภทวัสดุโพลีเอสเตอร์สปันบอนด์สีขาว สีเทา และสีดำขนาดความหนาต่าง ๆ นำมาทกสอบความสามารถในการให้แสงผ่าน และออกแบบตัดเย็บถุง 2 รูปแบบนำไปทดสอบเบื้องต้นกับลำไยที่ผลิตในฤดูในสวนของเกษตรกรใน จ.สระบุรีและแปลงทดลองของ ม.แม่โจ้ จ.เชียงใหม่ จากนั้นนำผลที่ได้จากการทดลองมาปรับปรุงรูปแบบและวัสดุที่ใช้ตัดเย็บถุง แล้วนำไปทดสอบผลกับลำไยที่ผลิตนอกฤดูในแปลงที่ จ.สระบุรี เพื่อประเมินความคุ้มค่าของการห่อช่อผล ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่ารูปแบบของถุงแบบกันปิดที่เป็นถุงรูปสี่เหลี่ยมใช้เชือกรูดปิดถุง เป็นแบบที่ใช้งานได้สะดวกรวดเร็วกว่าแบบก้นเปิด ที่เป็นผืนผ้ารูปครึ่งวงกลมใช้คลุมช่อแล้วใช้ลวดรัดติดขั้วลำไย และถุงกระดาษสีน้ำตาล คุณภาพของผลและการทำลายของศัตรูพืชของช่อลำไยที่ห่อด้วยวัสดุต่างๆ ไม่แตกต่างกันและไม่แตกต่างจากช่อที่ไม่ห่อ ความเสียหายที่พบมากในการห่อช่อผลลำไย คือผลร่วง และอาการผลแห้ง ซึ่งเกิดขึ้นมากกับช่อที่ห่อด้วยถุงแบบก้นปิด รองลงไปคือถุงแบบก้นเปิด ถึงกระดาษสีน้ำตาล และไม่ห่อช่อผลตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวัสดุโพลีเอสเตอร์สปันบอนด์ที่นำมาใช้ทดลอง พบว่าวัสดุสีเทาทำให้เกิดผลแห้งน้อยกว่าสีอื่นๆ ในการปรับปรุงรูปแบบถุง ได้เลือกใช้โพลีเอสเตอร์สปันบอนด์สีเทา 100 gsm และ โพลีเอสเตอร์สปันบอนด์สีขาว 60 gsm. นำมาตัดเย็บถุงห่อในรูปแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นแบบสี่เหลี่ยมก้นเปิดแต่มีเชือกรูดปากถุง และเพิ่มการเจาะรูเพื่อระบายความร้อนที่ถุงสีขาว เมื่อนำไปห่อช่อผลลำไยที่ผลิตนอกฤดูพบว่าสามารถป้องกันการทำลายของค้างคาวได้เป็นอย่างดีเมื่อเทียบกับช่อที่ไม่ห่อ ซึ่งถูกค้างคาวทำลายเกือบทั้งหมด โดยลำไยที่ห่อด้วยถุงสีขาวเจาะรูให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าตั้งแต่การใช้ครั้งแรก ส่วนถึงสีเทาจะต้องใช้ถุงซ้ำจึงเริ่มให้ผลคุ้มค่าในการใช้ครั้งที่ 3 จากการทดสอบความแข็งแรงของเนื้อผ้าทั้ง 2 ชนิดก่อนและหลังการใช้งาน คาดว่าถุงห่อสามารถใช้ได้อย่างน้อย 4 ฤดู | en_US |
dc.language.iso | Thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | en_US |
dc.subject | ลำไย -- การปลูก -- วิจัย | en_US |
dc.subject | ลำไย, สิ่งทอ | en_US |
dc.title | ผลของการห่อช่อผลลำไยด้วยสิ่งทอประเภทนันวูฟเว่น | en_US |
dc.title.alternative | The effects of longan fruit bunch bagging with non- woven fabric | en_US |
dc.type | Research | en_US |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - AGR) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
01.Abstract.pdf | The effects of longan fruit bunch bagging with non- woven fabric | 338.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.