Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2953
Title: การออกแบบและสร้างเรือเก็บก๊าซชีวภาพจากดินโคลน
Other Titles: Design and Construction of the Biogas Collection Boat from Mud
Authors: ปวีกา ศักดิ์เจริญชัยกุล
อดิเทพ ลอยล่อง
วิชาญ ทรงแพทย์
Keywords: ก๊าซชีวภาพ
โคลน
พลังงาน
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาอุตสาหกรรมการผลิต.
Abstract: ขณะที่พลังงานหลักทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ซึ่งสวนทางกับการใช้พลังงานของโลกที่มีอัตราสูงขึ้น ราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ในระดับสูงและมีความผันผวนไม่มีการกระจายเชื้อเพลิงในปริมาณที่เพียงพอ จึงต้องมีการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ แต่ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เราจึงหันมาใช้พลังงานที่สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก อย่างเช่นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานชีวภาพ ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงเห็นปัญหานี้ จึงได้ค้นคว้าหาข้อมูลด้านพลังงานทดแทนและคิดออกแบบสร้างเรือเก็บก๊าซชีวภาพจากดินโคลน เพื่อนำก๊าซชีวภาพนี้ที่ได้จากดินโคลนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงได้เป็นแนวทางในการนำพลังงานมาใช้งานต่อไป การออกแบบและสร้างเรือเก็บก๊าซชีวภาพจากดินโคลน เพื่อออกแบบและสร้างเรือเก็บก๊าซชีวภาพจากดินโคลนและเพื่อหาสมรรถนะการใช้งานของก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้น การทดลองจะใช้เครื่องยนต์เบนซิน 8.5 แรงม้าเป็นตัวขับเคลื่อนเรือ และใช้เครื่องปั๊มน้ำ 5.5 แรงม้า เป็นตัวกระตุ้นก๊าซชีวภาพใต้โคลน กระตุ้นเพื่อให้ก๊าซชีวภาพที่อยู่ใต้โคลนลอยขึ้นมาอยู่ในส่วนโค้งตรงกลางของเรือหลังจากนั้นต่อสายยางจากวาล์วเพื่อทำการทดลอง การทดลองจะใช้เวลาในการเก็บก๊าซชีวภาพ 15 นาทีต่อครั้ง และทำการทดลอง 2 ชุดการทดลอง คือ ชุดการทดลองที่ 1 จะทำการเก็บก๊าซแล้วนำมาติดไฟเพื่อหาค่าเวลาในการติดไฟ ส่วนชุดการทดลองที่ 2 จะทำการเก็บก๊าซชีวภาพเพื่อนำมาติดไฟแล้วทำการทอดไข่ การทดลองเก็บก๊าซชีวภาพในชุดทดลองที่ 1 เก็บก๊าซชีวภาพเพื่อนำมาทดลองก่อนการนำไปทดลองจริง จากการเก็บก๊าซชีวภาพทั้งหมด 10 ครั้ง ผลการทดลองที่ออกมาคือ เวลาในการติดไฟ (นาที) โดยเฉลี่ย 12.96 นาที ส่วนการทดลองเก็บก๊าซชีวภาพในชุดทดลองที่ 2 จากการเก็บก๊าซชีวภาพทั้งหมด 10 ครั้ง สามารถทอดไข่ดาวเฉลี่ยจำนวนไข่ที่ทอดประมาณ 8 ฟองต่อครั้ง ซึ่งก๊าซชีวภาพจากดินโคลนนี้สามารถนำมาประกอบอาหารได้จริง ช่วงเวลาในการติดไฟ โดยเฉลี่ย 12.51 นาที
While the primary energy worldwide is declining steadily which counter to the energy of the world. Oil prices on the world market are high and not enough fuel to use. Therefore have to rely on natural gas but natural gas is the energy consumption. We turned to renewable energy can be used again such as solar and wind and biogas. So we find out about renewable energy and design Build Boat Collection Biogas from Mud to use biogas from mud. All to guide Energy use further. This Research of Design and Build Boat Collection Biogas from Mud aimed to collect biogas process and determine the capacity of the use of biogas. Experiments used 8.5 hp petrol engine as driven mechanism of a boat and used 5.5 hp water pump as an actuators biogas under mud for biogas floating to the collecting tank. Then connect the hose from the valve collecting tank to the experimental kits. The experiments took 15 minutes to collect biogas per time and conducted two sets of experiments. First set of experiment collected biogas 10 times and fire from biogas to test the average time of ignition. The second set of experiment was to make food from biogas. The result from first set of experiment was 12.96 minutes. The second set of experiment was to make food from biogas which could fry eggs on average 8 eggs per time and Biogas could be used for an average of 12.51 minutes.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2953
Appears in Collections:โครงงาน (Project-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-155105.pdfDesign and Construction of the Biogas Collection Boat from Mud1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.