Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2927
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร ประจำปีงบประมาณ 2557 กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: An Analysis of Unit Cost per Curriculum for Fiscal Year 2014 A Case Study of Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Authors: ภัคธนิกา เศวตเมธิกุล
Keywords: allocation
An Analysis of Unit Cost per Curriculum
การปันส่วน
การวิเคราะห์ต๎นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, กองคลัง
Abstract: วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนรวม ต้นทุนทางตรง ต้นทุนทางอ้อมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สำหรับงานวิจัยครั้งนี้ เป็นการจัดเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ของเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ปีงบประมาณ 2557 (1ตุลาคม 2556-30 กันยายน 2557) โดยแยกแยะค่าใช้จ่ายตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย 4 ด้าน ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัยและพัฒนา การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม และให้นำเฉพาะค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิตมาคำนวณต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร โดยแยกตามหน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานสนับสนุนกลางของมหาวิทยาลัย และหน่วยงานสนับสนุนคณะ จะได้ต้นทุนทางอ้อม และค่าใช้จ่ายของหลักสูตรจะได้ต้นทุนทางตรง นำต้นทุนทางตรงบวกกับต้นทุนทางอ้อมเท่ากับต้นทุนรวม และหารด้วยค่า FTES จะเท่ากับต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร สำหรับกระบวนการคำนวณใช้การเชื่อมโยงข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนรวมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีงบประมาณ 2557 เท่ากับ 1,372.9 ล้านบาท ต้นทุนทางตรงเท่ากับ 797.5 ล้านบาท ต้นทุนทางอ้อม 575.4 ล้านบาท และต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เท่ากับ 58,389.63 ต่อคนต่อปี ต้นทุนรวมสูงสุดของมหาวิทยาลัย 3 ลำดับ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เท่ากับ 377.8 ล้านบาท คณะบริหารธุรกิจ 218.1 ล้านบาท คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เท่ากับ 120.2 ล้านบาท ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตรที่มีต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตรมากที่สุด 3 ลำดับ สปาและความงาม เท่ากับ 139,924.69 ต่อคนต่อปี สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งทอ 128,677.31 ต่อคนต่อปี สาขาวิชาฟิสิกส์ เท่ากับ 110,771.22 ต่อคนต่อปี หลักสูตรที่มีต้นทุนต่อหน่วยน้อยที่สุด ได้แก่ หลักสูตรการบัญชี เท่ากับ 32,393.40 บาทต่อคนต่อปี จากการศึกษา พบว่า คณะใหญ่ประกอบด้วยบุคลากรและนักศึกษาจำนวนมาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง และรับการปันส่วนค่าใช้จ่ายมากตามสัดส่วน จึงทำให้มีต้นทุนรวม ต้นทุนทางตรง และต้นทุนทางอ้อม มากตามไปด้วย และค่า FTES มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับต้นทุนรวมที่เท่ากัน กล่าวคือหากค่า FTES น้อย ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ในทางตรงข้ามค่า FTES มาก มีผลทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ควรมีการสร้างระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ที่สามารถเรียกสรุปรายงานค่าใช้จ่ายได้ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการคำนวณต้นทุน เป็นการลดข้อผิดพลาดในการดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างเที่ยงตรง และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของหน่วยงาน ควรบันทึกค่าใช้จ่ายลงระดับหน่วยงานย่อยเพื่อให้ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจริง ณ ศูนย์ต้นทุน เป็นการหลีกเลี่ยงการปันส่วน จะใช้การปันส่วนเฉพาะกรณีที่ไม่สามารถระบุค่าใช้จ่ายเนื่องจากการใช้ทรัพยากรร่วมกันเท่านั้น ซึ่งทำให้การคำนวณต้นทุนสะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด นอกจากนี้ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ทุกคณะมีการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการบริหารหลักสูตร การกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาที่เหมาะสม และใช้เป็นข้อมูลเตรียมความพร้อมออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
The objectives of this research are to analyze the overall, direct and in-direct costs, and to analyze the unit cost per curriculum for Rajamangala University of Technology Thanyaburi. In our research, the actual expenses of the government- and private-expenditure budgets collected through the fiscal year of 2014 (1 October 2013 – 30 September 2014) were classified according to university missions at four aspects as follows: teaching, research and development, academic services, and art and cultural conservation. However, the budgets employed in teaching mission by all support offices including central and in-faculty units were used to calculate for the unit cost per curriculum, where indirect budgets were collected at all support offices and direct budgets were collected at all curriculums. Finally, the unit cost per curriculum were obtained by total budgets including indirect and direct costs divided by the full-time equivalent students (FTES). The database system and calculation were achieved by MS Excel. The results showed that the total cost at fiscal year 2014 was 1,372.9 MBaht consisting of direct cost at 797.5 MBaht and indirect cost at 575.4 MBaht. The average unit cost per curriculum was 58,389.63 Baht/head/year. The top-three highest costs were belong to Faculty of Engineering at 377.8 MBaht, Faculty of Business Administration at 218.1 MBaht and Faculty of Technical Education at 120.2 MBaht, respectively. The top-three highest costs for bachelor degree curriculums were belong to Spa and Beauty Program at 139,924.69 Baht/head/year, Textile Engineering Program at 128,677.31 Baht/head/year and Physics Program at 110,771.22 Baht/head/year, respectively. On the other hand, the lowest unit cost was belong to Accountancy Program at 32,393.40 Baht/head/year. Also, it was found that the highest unit-costs were due to large number of staff and students, which were obtained high weight for indirect and direct costs. Furthermore, unit cost per curriculum was varied by FTES, where a high unit cost was obtained by a low FTES. According to the results, Researcher recommended that central database system is highly required to summarize the total expenses linked to all sources for calculating the unit cost per curriculum with a high accuracy and less of human error. In the meantime, all costs occurred at any support offices and in-faculty units should be recorded in the central database system by themselves to avoid cost allocation that may cause of error. However, cost allocation method might be rarely used for some costs belonging to sharing resources. This can be reach the highest accurate results. In addition, unit cost per curriculum analysis should be continuously proceed by faculties, in order to analyze a break-even point and estimate the proper tuition fee. Finally, the cost analysis methodology proposed in this research can be used to arrange the autonomous university plan as well.
Description: การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร ประจำปีงบประมาณ 2557 กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2927
Appears in Collections:วิจัย (Research - FD)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
An Analysis of Unit Cost per Curriculum for Fiscal Year 2014.pdfการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร ประจำปีงบประมาณ 2557 กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.