Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/285
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สมชาย เบียนสูงเนิน | |
dc.contributor.author | วินัย จันทร์เพ็ง | |
dc.contributor.author | นิติพงศ์ ปานกลาง | |
dc.contributor.author | พร้อมศักดิ์ อภิรติกุล | |
dc.contributor.author | ไพศาล บุญเจียม | |
dc.contributor.author | บุญยัง ปลั่งกลาง | |
dc.date.accessioned | 2011-12-29T06:50:04Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:37:23Z | - |
dc.date.available | 2011-12-29T06:50:04Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:37:23Z | - |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/285 | - |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยนี้ได้สร้างและวิเคราะห์ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังเครื่องยนต์ไบโอดีเซล เริ่มจากการสร้างระบบควบคุมการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลังเข้าระบบฟ้าแบบอัตโนมัติโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ทำให้เกิดความสะดวกในการตรวจสอบเงื่อนไข การทดสอบพฤติกรรมของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ได้ทดสอบกับเครื่องกำเนิดชนิด 1 เฟส ขนาด 3 kW 220V โดยพบว่าสัญญาณรูปคลื่นแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีฮาร์มอนิกส์ประกอบอยู่ด้วย แต่ระบบควบคุมยังสามารถสั่งการให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานเมื่อแหล่งจ่ายหลักไม่สามารถจ่ายโหลดได้ และเมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซลทำการขนานเข้ากับระบบไฟฟ้าความถี่และแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะถูกควบคุมโดยความถี่และแรงดันของระบบ แต่กระแสยังมีสัญญาณฮาร์โมนิกส์ปนอยู่ ซึ่งในการพัฒนางานวิจัยขั้นต่อไปจะต้องออกแบบชุดกำจัดสัญญาณฮาร์โมนิกส์ เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อคุณภาพระบบไฟฟ้า ส่วนภาคแสดงผลทำงานได้ตามที่ออกแบบ โดยสามารถส่งและรับค่าผ่านคลื่นความถี่วิทยุได้ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลปริมาณทางด้านไฟฟ้า ดูสถานะของระบบและสั่งการการทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ได้ สำหรับการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น สามารถทำได้ที่โหลดต่ำ โดยจากการทดสอบอัตราการใช้พลังงานเทียบที่โหลดขนาดต่างๆ ที่โหลดต่ำประมาณ 0% ถึง 30% จะมีการใช้พลังงานที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงควรนำพลังงานไฟฟ้าที่เหลือจากการจ่ายโหลดเก็บที่แบตเตอรี่ เพื่อนำมาใช้สลับกับการเดินเครื่องยนต์ การหาตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสมในแบบ 1 เฟส หาได้จากการพิจารณากำลังไฟฟ้าสูญเสียที่เกิดจากสายนิวตรอล | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | en_US |
dc.language.iso | Thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.subject | เครื่องกำเนิดไฟฟ้า -- วิจัย | en_US |
dc.subject | ไบโอดีเซล | en_US |
dc.title | ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังเครื่องยนต์ไบโอดีเซล | en_US |
dc.title.alternative | Bio-diesel engine generator intelligent control system | en_US |
dc.type | Research | en_US |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังเครื่องยนต์ไบโอดีเซล.pdf | Bio-diesel engine generator intelligent control system | 957.92 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.