Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2613
Title: | การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาในสำนักงานการอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Integrated marketing communication influencing the students’ decision to study at Office of Vocational Education commission in Nakhon Ratchasima province |
Authors: | อินท์อร ไตรศักดิ์ |
Keywords: | การสื่อสารการตลาด |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการตลาด |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ระดับการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ การทดสอบความแตกต่างของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ตลอดจนการทดสอบอิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาในสำนักงานการอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมานใช้ Independent Samples t-test, One-way ANOVA และ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อาชีพผู้ปกครองค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว รายได้ครอบครัวต่อเดือน 10,001-15,000 บาท และให้ความสนใจเข้าศึกษาต่อในสำนักงานการอาชีวศึกษามากที่สุด อันดับที่ 1 และ อันดับที่ 2 คือวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ระดับการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสำนักงานการอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ระดับการรับรู้มากที่สุด ในด้านการใช้ปัจจัยจูงใจที่กระตุ้นการตัดสินใจโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีระดับการรับรู้มากที่สุด คือ การแจกทุนเรียนฟรี สำหรับเด็กที่เรียนดี และบ้านยากจน ระดับการรับรู้น้อยที่สุดคือด้านการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ระดับการรับรู้น้อยที่สุด คือ สื่อวิทยุ สื่อเคลื่อนที่ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านเพศ และระดับชั้นการศึกษาแตกต่างกัน มีการรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการแตกต่างกัน การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และด้านการติดต่อสื่อสารทางตรง มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสำนักงานการอาชีวศึกษา ของนักเรียนในจังหวัดนครราชสีมา This study aimed at investigating the demographic factors, the integrated marketing communication (IMC) factors, testing the differences of demographic factors and also testing IMC that affect the intentions of decision to study at office of vocational education commission in Nakhon Ratchasima Province. The questionnaire was used as a data collection instrument, and the analysis of data was done by using Percentage, Means, Standard Deviation, Independent Samples t-test, One-way ANOVA and Multiple Regression Analysis. Regarding the survey findings, most of the respondents were female who had high school education, their parents owned a families business while earning 10,001-15,000 baht a month. The most intentions of decision to study was Nakhon Ratchasima Technical Collage. The integrated marketing communication factors that had the most perception were the motivational factors such as scholarship for the students who had good grades and poor children. In the other side The IMC factors that had the less perception were the Advertising and Public Relations factors such as radio, newspaper and transit advertising. The result of hypotheses testing indicated that different demographic factors in terms of gender and education level caused the difference of perception in integrated marketing communication factors. And the result of correlations found that the integrated marketing communication factors in term of the advertising and public relations factors and direct communication factors correlated with the decision to study at Office of Vocational Education Commission in Nakhon Ratchasima Province. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2613 |
Appears in Collections: | การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-147680.pdf | การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาในสำนักงานการอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา | 7.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.