Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2597
Title: | รูปแบบการบริการด้วยข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของสำนักส่งเสริม วิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Other Titles: | A model of service through the use of SMS on mobile phones of office of academic promotion and registration of Rajamangala University of Tecnology Thanyaburi |
Authors: | ทวีสิทธิ์ สาสะเดาะห์ |
Keywords: | การบริการข้อความสั้น |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการรูปแบบการบริการด้วยข้อความสั้นผ่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2) เพื่อออกแบบรูปแบบการบริการด้วยข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาจำนวน 394 คน และอาจารย์ จำนวน 284 คน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Satisfied Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบประเมินรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความต้องการของอาจารย์และนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบข้อความสั้นของมหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการมีระบบข้อความสั้นเกี่ยวกับการเรียนการสอนควรจะมีการส่งข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยการบริการส่งข้อความสั้นเป็นแบบแบบไม่อัตโนมัติ และแบบอัตโนมัติ 2) ผลแบบสอบถามอาจารย์มีความต้องการรูปแบบการบริการด้วยข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ อยู่ในระดับมาก หรือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ส่วนคะแนนที่ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือภาษาในข้อความที่มีความเหมาะสม เพราะข้อความไม่ยาวเกินไป ใช้เวลาในการอ่านน้อยและเข้าใจง่าย อยู่ในระดับมากที่สุด หรือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ส่วนผลแบบสอบถามนักศึกษามีความต้องการรูปแบบการบริการด้วยข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ อยู่ในระดับมาก หรือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ส่วนคะแนนที่ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความเท่าเทียมกันในการรับข่าวสารได้ทุกเครือข่าย อยู่ในระดับมากที่สุด หรือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 3) ผลการออกแบบรูปแบบการบริการด้วยข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของสานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่พัฒนาขึ้นมี องค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ องค์ประกอบเกี่ยวกับการเรียนการสอนและองค์ประกอบข้อความสั้น ซึ่งส่วนของการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ส่วน ตามแนวคิดของวิธีระบบ (System approach) ได้แก่ ปัจจัยนาเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output) และองค์ประกอบย่อย ได้แก่ กลุ่มลงทะเบียนเรียน (Registration) กลุ่มเกรด (Grade) และกลุ่มข่าวสาร(Information) และส่วนของข้อความสั้นประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ระบบการส่งข้อความ (Delivery System) และบริบท ซึ่งระบบการส่งข้อความ (Delivery System) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แบบอัตโนมัติ (Automatic) และแบบไม่อัตโนมัติ (Manual)และบริบท (Context)คือ ผู้ที่ใช้ระบบส่งข้อความสั้นได้แก่ อาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่4)จากผลการประเมินรับรองรูปแบบการบริการด้วยข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด หรือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 The purposes of this research were 1) to study the needs for a model of service through the use of SMS on mobile phones. 2) to design a model of service through the use of SMS on mobile phones of office of academic promotion and registration of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The samples were 394 undergraduate students and 284 lecturers of Rajamangala University of Technology Thanyaburi, derived from the stratified random sampling method. The instruments of this research were comprised of an expert’s evaluation form and a needs-analysis questionnaire administered to the lecturers and the students. Mean (x̄) and Standard Deviation (S.D.) were used to analyze the data. This research revealed that 1) the experts suggested the use of SMS on mobile phones should be delivered both manually and automatically, 2) the lecturers needed a model of service through the use of SMS on mobile phones at a high level (x̄= 4.47), and appropriate language use in messages, i.e. the length and the fact that they were comprehensible easily, was at the highest level (x̄= 4.57). From students’ responses obtained by the questionnaire, the need for the model was at a high level (x̄= 4.60). The highest mean score was drawn from the item of equality in receiving news or messages from all network providers (x̄= 4.70); 3) a model of service through the use of SMS on mobile phones of office of academic promotion and registration of Rajamangala University of Technology Thanyaburi comprises 2 parts: instructional and SMS components. The instructional component was further divided into 3 sub-sections according to the system approach:input, process, and output. A more detailed breakdown of the component includes registration, grade, and information. The SMS component is composed of delivery system-and context. The delivery system comprises automatic and manual, while the context is operated by lecturers, students, and supportive staff. 4) accordingto the evaluation results of a model of service through the use of SMS on mobile phones of office of academic promotion and registration of Rajamangala University of Technology Thanyaburi, the overall score was at the highest level (x̄ = 4.84). |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2597 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-146716.pdf | A model of service through the use of SMS on mobile phones of office of academic promotion and registration of Rajamangala University of Tecnology Thanyaburi | 3.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.