Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2479
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิลาสินี สัญราชา
dc.contributor.authorอุมาวสี ศรีบุญลือ
dc.date.accessioned2015-10-05T07:02:30Z
dc.date.accessioned2020-09-24T07:36:10Z-
dc.date.available2015-10-05T07:02:30Z
dc.date.available2020-09-24T07:36:10Z-
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2479-
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ผลักดันและดึงดูดให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน และปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจในการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีที่มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจในการย้ายไปทำงานในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหลังการเปิดเสรีทางการค้า ในการศึกษาครั้งนี้ประชากรคือ แรงงานฝีมือที่ประกอบอาชีพตามแนวทางการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีอาเซียนในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควต้าและแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบสมมติฐานกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีแนวโน้มการตัดสินใจซึ่งประกอบด้วยด้านการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ บุคคลที่มีอิทธิพลและการตัดสินใจเคลื่อนย้ายแรงงานไม่แตกต่างกัน ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจในการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีไม่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการตัดสินใจในทุกด้าน ส่วนปัจจัยผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการตัดสินใจในด้านการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และปัจจัยดึงดูดด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการตัดสินใจในด้านการเพิ่มความรู้ความเข้าใจและการตัดสินใจเคลื่อนย้ายแรงงานen_US
dc.description.abstractThe purposes of this independent study were to study the personal factors, push and pull environments, knowledge and understanding of free movement, affecting a tendency of decision making on labor mobility in ASEAN Economic Community (AEC). The samples consisted of 397 participants who were qualified as skilled labors from Mutual Recognition Arrangements (MRAs) in Bangkok, selected by using quota and purposive sampling. Descriptive statistics used for data analysis included Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation. Due to inferential statistics, the Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, and the Pearson Correlation were used for the hypothesis testing at a significance level of 0.05. According to the hypothesis testing, the results showed that different personal factors did not differently affect the tendency of decision making in terms of knowledge and understanding enhancement, influence groups, and labor mobility. Moreover, knowledge and understanding of free movement factors did not have any relationships with the tendency of decision making in all aspects. In contrast, push environmental factors affected the tendency of decision making in terms of knowledge and understanding enhancement while pull environmental factors affected the tendency of decision making in terms of knowledge and understanding enhancement and labor mobility.
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจen_US
dc.subjectประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนen_US
dc.subjectการเคลื่อนย้ายแรงงานen_US
dc.subjectASEAN Economic Community (AEC)en_US
dc.subjectlabor mobilityen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเคลื่อนย้ายแรงงานจากกรุงเทพมหานครเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนen_US
dc.title.alternativeFactors affecting the decision on labor mobility from Bangkok to ASEAN Economic Community (AEC)en_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Article - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
หน้า 672-680.pdfปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเคลื่อนย้ายแรงงานจากกรุงเทพมหานครเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน242.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.