Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/226
Title: การพัฒนาผลิตภัณฑ์เรือประมงจำลอง ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
Other Titles: Development on Miniature Fishing Boat’s Assembly,Tambon Tachalom, Amper Meaung, Samutsakon Province
Authors: สุรพันธ์ จันทนะสุต
Keywords: ผลิตภัณฑ์ -- การออกแบบ -- วิจัย
เรือประมงจำลอง
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะศิลปกรรมศาสตร์
Abstract: การวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เรือประมงจำลอง ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองจังหวัด สมุทรสาคร เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก โดยได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากรูปแบบเรือประมงในรูปแบบต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จากการที่ได้ทำการทดลองวิธีการสร้างเรือประมงจำลองด้วยวิธีการทั้ง 3 วิธี ได้แก่การต่อเรือแบบเรือขุด การต่อเรือแบบกระดูกงูและการต่อเรือแบบซ้อนไม้ พบว่าการต่อเรือทั้ง 3 วิธีได้ชิ้นงานที่มีความสวยงามเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของวิธีการผลิต โดยพบว่าการต่อเรือแบบซ้อนไม้ทำได้รวดเร็วและประหยัดไม้กว่า และที่สำคัญที่สุดคือทำได้ง่ายกว่า เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามความพึงพอใจ ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ร้อยละค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยสรุปว่า สินค้าที่ถูกเลือกซื้อมากที่สุดคือเรือประมงจำลองมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 81 รองลงมาโมบายเปลือกหอย คิดเป็นร้อยละ 9.0 พวงกุญแจเปลือกหอยหล่อซิ่น คิดเป็นร้อยละ 6.0 และโคมไฟปะการัง คิดเป็นร้อยละ 4.0 เหตุผลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากทะเลมากที่สุดคือ เพราะชื้นชอบงานศิลปะหัตถกรรม คิดเป็นร้อยละ 85.0 รองลงมาซื้อตามแฟชั่นหรือกระแสนิยม คิดเป็นร้อยละ 7.0 เป็นของฝากจากทะเล คิดเป็นร้อยละ 5.0 และซื้อตามเทศกาล คิดเป็นร้อยละ 3.0 แหล่งซื้อสินค้าของที่ระลึกจากทะเลมากที่สุดคือ ร้านค้าผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกคิดเป็น ร้อยละ 54.0 รองลงมา แหล่งผลิตโดยตรง คิดเป็นร้อยละ 39.0 และงานจัดแสดงสินค้าไทยเช่น งานOTOP คิดเป็นร้อยละ 7.0
This research is to develop the miniature fishing boat replica at Tha Chalom, Maung, Samutsakorn. The study is to investigate the data from the several types of fishing boats in Samutsakorn so as to develop the local product as a souvenir. There are 3 methods of building the miniature fishing boat replica: Rau Khud, Kraduk Ngoo and Son Mai. The boats from these methods are equally beautiful, but just different in building methods – Son Mai is the quickest and wood-saved as well as the simplest. The instruments used are the interview from the experts and the questionnaire of satisfaction. The data are analyzed by percentage and mean. The results show the following: The goods chosen most are the miniature fishing boat replica calculated as 81%, shell mobile 9% , shell-resin key 6% and reef lamp 4%. The reasons for choosing the souvenir are the appreciation to handicraft as 85%, the trend of fashion and popularity 7%, the souvenir from the sea 5% and the festival 3%. The places for buying the souvenir are the souvenir shops as 54%, the manufacture 39% and the display such as OTOP 7%.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/226
Appears in Collections:วิจัย (Research - FA)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เรือประมงจำลอง ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร.pdfการพัฒนาผลิตภัณฑ์เรือประมงจำลอง ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร565.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.