Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2176
Title: | ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารนอกบ้าน |
Other Titles: | Factors Affecting Eating Out Expenses |
Authors: | อรรคเดช อุภัยภักตร์ |
Keywords: | การบริโภคอาหาร -- ค่าใช้จ่าย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการทั่วไป |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารนอกบ้าน ขอบเขตทางด้านประชากร คือ ผู้บริโภคอาหารนอกบ้าน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 800 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าตัวพยากรณ์ระหว่างตัวแปร โดยหาข้อมูลเชิงสถิติ สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 54,801 บาทต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารนอกบ้านเฉลี่ย 1,354 บาทต่อครั้ง จำนวนผู้ร่วมบริโภคเฉลี่ย 3.7 คนต่อครั้ง อาหารส่วนใหญ่ที่ผู้บริโภคเลือกเป็นอาหารประเภท Fast food โดยนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านมื้อเย็นมากที่สุด โดยส่วนใหญ่ ผู้บริโภคเลือกที่จะเลือกบริโภคอาหารนอกบ้านในโอกาสสำคัญ และเพื่อเป็นสถานที่นัดพบ
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า รายได้ของครัวเรือนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารนอกบ้าน โดยค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารนอกบ้านจะเพิ่มขึ้น 115 บาทต่อเดือน เมื่อรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 1,000 บาทต่อเดือน และค่าใช้จ่ายในการบริโภคจะเพิ่มขึ้น 244 บาทต่อเดือน เมื่อมีจำนวนผู้ร่วมบริโภคเพิ่มขึ้น 1 คน อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการบริโภคจะเพิ่มขึ้น 1,056 บาทต่อเดือน เมื่อผู้บริโภคเลือกที่จะบริโภคอาหารนอกบ้านในโอกาสสำคัญเมื่อเทียบกับการเลือกบริโภคเป็นประจา และค่าใช้จ่ายในการบริโภคจะเพิ่มขึ้น 191 บาทต่อเดือน หากผู้บริโภคเลือกบริโภคช่วงมื้อเย็นเมื่อเทียบกับการเลือกบริโภคช่วงมื้อกลางวัน The purpose of the study was to examine the factors that affected the eating out expenses. The questionnaire was used as the tool to collect the data from 800 samples who ate out. The statistics used for data analysis consisted of Frequency, Mean, Standard Deviation, and Multiple Regression. The results of the study revealed that the samples had an average monthly household income of 54,801 Baht, had an average eating out cost of 1,354 Baht per time, there were an average of 3.7 persons joined at each time, the consumers preferred to eat fast food, loved to eat out for dinner on special occasions, and used the eating out places for meeting. The results of hypothesis testing showed that the household income had a positive relationship with the eating out expenses, the eating out expenses would increase by 115 Baht per month when the household income increased by 1,000 Baht per month, and the eating out expenses would increase by 244 Baht per month when there was one more person joining. Moreover, the expenses would increase by 1,056 Baht per month when the consumers chose to eat out on special occasions when comparing with the regular eating out. The expenses would increase by 191 Baht per month if the consumers chose to eat out for dinner when comparing with the eating out for lunch. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2176 |
Appears in Collections: | การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
142525.pdf | ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารนอกบ้าน | 2.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.