Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/215
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนวพรรษ การะเกตุ
dc.date.accessioned2011-10-19T03:54:18Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:44:46Z-
dc.date.available2011-10-19T03:54:18Z
dc.date.available2020-09-24T04:44:46Z-
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/215-
dc.description.abstractโครงการวิจัย การศึกษาภาพอนาคตของสื่อมวลชนในบทบาทการส่งเสริมคุณค่าข้าวหอมมะลิไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบบทบาทของสื่อมวลชนในการส่งเสริมคุณค่าให้กับข้าวหอมมะลิไทยเพื่อทราบแนวทางในการพัฒนาบทบาทของสื่อมวลชน ในการส่งเสริมคุณค่าให้กับข้าวหอมมะลิไทย และเพื่อทราบอนาคตของสื่อมวลชนในบทบาทการส่งเสริมคุณค่าให้กับข้าวหอมมะลิไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยอนาคต โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการวิจัย ผลการวิจัย ภาพอนาคตของสื่อมวลชนในบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อสร้างเสริมคุณค่าให้กับข้าวหอมมะลิไทย พบว่า 1. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการเป็ นผู้พิทักษ์ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด คือ สื่อมวลชนควรส่งเสริมให้คนไทยตระหนักว่าข้าวหอมมะลิเป็นพืชประจำถิ่นของไทย ควรรณรงค์ให้คนไทยรู้สึก รัก และหวงแหน ว่าข้าวหอมมะลิเป็นข้าวของคนไทยควรส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์และรักษาพันธุ์ข้าวหอมมะลิดั้งเดิมไว้ไม่ให้สูญหาย ควรกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรชีวภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวหอมมะลิจากชาวต่างชาติ ควรกระตุ้นให้กลุ่มลูกหลานเกษตรกรรู้สึกรัก และหวงแหนในอาชีพการทำนาและพื้นที่ในการเพาะปลูกข้าว ควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมทางการตลาดที่เกษตรกรได้รับ เช่น การโกงน้ำหนัก การกดราคา เพื่อเป็นการป้องปราม ควรติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายที่ไม่เป็นธรรมแก่เกษตรกรและกระตุ้นให้เกิดการซืYอขายล่วงหน้าในตลาด ควรกระตุ้นเกษตรกรหันมาเพาะปลูกข้าวแบบดั้งเดิมมากกว่าการใช้เทคโนโลยีใหม่หรือสารเคมี สื่อมวลชนควรให้ความ สำคัญและติดตามสถานการณ์การแย่งชิงทรัพยากรชีวภาพของชาวต่างชาติ สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการปลูกฝังคานิยมในการหวงแหนพืชพันธุ์และทรัพยากรธรรมชาติ สื่อมวลชนควรมีส่วนในการชี้ให้เห็นความสำคัญของพันธุ์ข้าวหอมมะลิ รองลงมา ในระดับมาก คือ ควรส่งเสริมให้คนไทยตระหนักว่าข้าว หอมมะลิเป็นเอกลักษณ์ของข้าวไทย ควรกระตุ้นให้คนไทยตระหนักว่าอาชีพทำนาก่อให้เกิดขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมอันเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพการทำนาข้าวมากมายควรค่าแก่การอนุรักษ์ ควรกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์และรักษาศิลปะหลากหลายแขนงที่เกี่ยวข้องกับการทำนา เช่น การละเล่น การแสดง เครื่องจักสาน พิธีกรรม ฯลฯ ควรกระตุ้นให้เกิดการสืบทอดและรักษาไว้ซึ้งประเพณี เช่น การแห่นางแมวเพื่อขอฝน การบูชาพระแม่โพสพ ฯลฯ ควรกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักถึงการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณี เกี่ยวกับข้าว รวมทั้งการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีให้อยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวนาไทย สื่อมวลชนควรให้ความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้เกษตรกรเห็นคุณค่าของข้าวหอมมะลิว่าเป็นข้าวของคนไทย สื่อมวลชนควรให้ความสำคัญเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์การคุกคามพื้นที่เกษตรกรรมของคนต่างชาติ สื่อมวลชนควรให้ความสำคัญติดตามสถานการณ์และกระตุ้นรัฐบาล เพื่อประกาศให้อาชีพทำนาเป็นอาชีพของคนไทย สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการปกป้ อง เฝ้ าระวัง ป้ องกัน และรักษาพันธุ์ข้าวหอมมะลิและอาชีพการทำนาข้าวอย่าง ชัดเจน ในระดับปานกลาง คือ สื่อมวลชนควรให้ความสำคัญและติดตามสถานการณ์ปริมาณพื้นที่ปลูก ข้าวที่ลดลง และกระตุ้นให้เกษตรกรรู้สึกรักและหวงแหนพี้นที่ปลูกข้าว สื่อมวลชนควรให้ความสำคัญ และติดตามสถานการณ์การอนุรักษ์พื้นทีเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าว 2. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการให้ความหมาย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด คือ สื่อมวลชนควรส่งเสริมให้ทั่วโลกรู้ว่าความหอมของข้าวหอมมะลิเป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย ควรเผยแพร่ให้ทั่วโลกรู้ว่าข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีความอร่อยที่สุดในโลก ควรกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงภัยธรรมชาติจากภาวะโลกร้อน ควรกระตุ้นให้เกษตรกรตระหนักถึงปัญหาคุณภาพดินและการทำลายหน้าดิน โดยการเผาตอซัง และลดการทำลายหน้าดิน ควรให้ความรู้แก่เกษตรกร ในแนวทางการลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าว ด้วยวิธีการเพาะปลูกข้าวแบบเกษตรธรรมชาติมากขึ้น ควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องการบริหารและวางแผนการเพาะปลูกข้าวรวมไปถึงการบริหารแปลงให้มีประสิทธิภาพ ควรให้ความรู้แก่เกษตรในเรื่องของการเก็บเกี่ยว เพื่อลดการสูญเสียเมล็ดข้าวระหว่างการเก็บเกี่ยว ควรกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาและองค์ความรู้ต่างๆในการเพาะปลูกข้าว จากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาในระดับมาก คือควรสร้างเอกลักษณ์เฉพาะให้กับข้าวหอมมะลิว่า เป็นข้าวที่ต้องปลูกในประเทศไทยเท่านั้น จึงจะได้กลิ่นและรสชาติที่หอมเหมือนดอกมะลิ ควรกระตุ้นให้ตระหนักว่าข้าวหอมมะลิมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชาวนาไทย ควรกระตุ้นให้เกษตรกรตระหนักถึงปัญหา การใช้สารเคมีและรณรงค์ให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการกำจัด แมลง วัชพืช และศัตรูพืช สื่อมวลชนควรมีส่วนในการเผยแพร่ความรู้เรื่องข้าวหอมมะลิไทย 3. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการเป็นผ้ตอบสนองความต้องการของสังคม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด คือ สื่อมวลชนควรส่งเสริมให้ข้าวหอมมะลิเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศไทยเช่นเดียวกับทองหรือนำมัน กระตุ้นภาครัฐในการแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งและการเชื่อมโยงตลาดที่ไม่สมบูรณ์ให้พัฒนาขึ้น สื่อมวลชนควรมีความร่วมมือและประสานความคิด โดยมุ่งประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญในการปกป้ องพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย สื่อมวลชนควรตระหนักถึงความสำคัญของข้าวต่อระบบเศรษฐกิจ รองลงมาในระดับมาก คือ ควรกระตุ้นให้รัฐบาลเห็นความสำคัญแลให้อาชีพทำนาเป็นอาชีพสงวนของคนไทย ควรกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตระหนักว่าข้าวหอมมะลิเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของชาติไทย ควรกระตุ้นให้มีแหล่งจำหน่ายพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ดีให้แก่เกษตร ควรส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาปรับ ปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิให้มีคุณภาพสูงขึ้นควรกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงปัญหาการผลิตข้าวไม่ตรงกับความต้องการของตลาด อาทิ ข้าวไม่ปลอดสารพิษ มีการปลอมปน รวมไปถึงการให้ความรู้แก่เกษตรกรในการผลิตข้าวได้ตรงกับความต้องการของตลาด ควรส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถแปรรูปผลผลิตของตนเองเพื่อเพิ่มมูลค่า และส่งเสริมให้มีเครื่องหมายการค้า ควรกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงสถานการณ์การแข่งขันในตลาดค้าข้าวของประเทศเวียตนามและประเทศในภูมิภาคอาเซียน สื่อมวลชนควรให้ความสำคัญ และติดตามสถานการณ์ปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิในตลาดค้าข้าว สื่อมวลชนควรให้ความสำคัญและติดตามสถานการณ์ กระบวนการผลิตข้าวที่ปลอดสารเคมี/การผลิตข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ สื่อมวลชนควรเอาใจใส่และมีความต่อเนื่องในการนำเสนอข่าว ความเคลื่อนไหวทางด้านการเกษตรของไทย สื่อมวลชนควรมีส่วนในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี อันเนื่องมาจากวิถีชีวิตการทำนา ในระดับปานกลาง คือควรกระตุ้นผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ ายเพื่อให้เกษตรกรได้พันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ดีในการเพาะปลูก ข้อเสนอแนะของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อบทบาทของสื่อมวลชนในการส่งเสริมคุณค่าข้าวหอมมะลิไทย คือ ต้องการให้เรื่องข้าวและข้าวหอมมะลิ เป็นนโยบายและประเด็นแห่งชาติ ต้องการให้มีการกำหนดให้อาชีพทำนาเป็นอาชีพเฉพาะของคนไทยเท่านั้น เพื่อป้ องกันต่างชาติเข้ามาประu3585 กอบอาชีพนี้และรวมไปถึงการคุกคามพื้นที่ปลูกข้าวของชาวต่างชาติ ควรส่งเสริมให้คนไทยรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรชีวภาพของชาติไทยไว้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมมะลิ หรือ พันธุ์พืชอื่นๆ ไม่ให้สูญหาย หรือตกไปเป็นของชนชาติอื่น ทุกภาคส่วนควรได้ตระหนักถึงสถานการณ์การแย่งยิงทรัพยากรชีวภาพ ของชาวต่างชาติ รวมไปถึงคู่แข่งอย่าง เวียตนาม กัมพูชา ลาว และประเทศอื่นๆ ที่จะมาเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดสินค้าเกษตรในอนาคตอันใกล้นี้ ควรส่งเสริมให้ข้าวหอมมะลิเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีราคาสูง เช่นเดียวกับทองคำหรือนำมันและเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ต้องการให้เกิดศูนย์อนุรักษ์ รักษา วิจัยและกระจายพันธุ์ข้าวไปยังเกษตรกรหลายๆ แห่งทั่ว ประเทศ เพื่อช่วยเกษตรกรให้ได้พันธุ์ข้าวที่ดีส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถผลิตข้าวได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่มีการเจือปนสารเคมี การขยายตลาดค้าข้าวหอมมะลิในประเทศต่างๆ เพิ่ม ขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนen_US
dc.subjectสื่อมวลชน -- แง่สังคม -- วิจัยen_US
dc.subjectข้าวหอม -- ไทยen_US
dc.subjectข้าวหอมมะลิen_US
dc.titleการศึกษาภาพอนาคตของสื่อมวลชนในบทบาทการสร้างเสริมคุณค่าให้กับข้าวหอมมะลิไทยen_US
dc.title.alternativeA study on teh future image of mass media in the role to promote the value of thai jasmine riceen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:วิจัย (Research - MCT)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
การศึกษาภาพอนาคตของสื่อมวลชนในบทบาทการสร้างเสริมคุณค่าให้กับข้าวหอมมะลิไทย.pdfการศึกษาภาพอนาคตของสื่อมวลชนในบทบาทการสร้างเสริมคุณค่าให้กับข้าวหอมมะลิไทย590.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.