Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1836
Title: | การทดสอบประสิทธิภาพหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของโรงรมลำไยสดจำลองในเขตภาคเหนือตอนบน |
Authors: | เกรียงศักดิ์ นักผูก วิทยา อภัย สมเพชร เจริญสุข สุรินทร์ ต๊ะกาบโพธ์ สถิตย์พงศ์ รัตนคำ วีระ ศรีกระจ่าง สมเดช ไทยแท้ |
Keywords: | ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โรงรมลำไยสด หอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering |
Abstract: | งานวิจัยนี้ดำเนินการสำรวจหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของโรงรมลำไยสดในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน และนำรูปแบบหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่โรงรมใช้มากที่สุดมาสร้างหอบำบัดจำลอง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดก่อนปล่อยก๊าซสู่สิ่งแวดล้อม ผลการสำรวจพบโรงรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จำนวน 72 โรงรม เป็นโรงรมที่ได้รับการรับรองภายใต้การกำกับดูแลของกรมวิชาการเกษตร 57 โรงรมพบว่า มีหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นแบบเปียก (wet scrubber) คล้ายแบบ packing bed scrubber จำนวน 66 โรงแรม มากที่สุดคิดเป็น 92 เปอร์เซ็นต์ จึงได้ออกแบบสร้างโรงรมพร้อมหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์แบบเปียกคล้ายแบบ packing bed scrubber โดยส่วนที่สัมผัสกับก๊าซเป็นแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิมและแผ่นอะคริลิก มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วน คือ ห้องรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ห้องเผาไหม้กำมะถัน ชุดพัดลมหมุนเวียนก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์พร้อมทั้งดูดบำบัด และหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยหอบำบัดก๊าซมีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ หอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อ่างสารบำบัด และปั๊มดูดสารบำบัด การทดสอบเปรียบเทียบสารที่ใช้บำบัด คือ น้ำเปล่า น้ำปูนขาว และสารละลายโซดาไฟ ที่ปรับค่า pH เท่ากับ 7, 11 และ 11 โดยการบำบัดแยกจำนวนลูกมีเดีย (Media) บรรจุในหอบำบัด 3 แบบ ได้แก่ 0, 1500 และ 2500 ลูก อัตราการสเปรย์สารบำบัด 10 ลิตรต่อนาที ปริมาณน้ำในอ่างบำบัด 0.37 ลูกบาศก์เมตร อัตราการไหลของก๊าซ 0.095 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที การทดลองหาประสิทธิภาพการบำบัดของสารละลายทั้งสามชนิดพบว่า เมื่อใช้น้ำเปล่าประสิทธิภาพการบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คือ 35.75, 53.38 และ 73.75 เปอร์เซ็นต์ ใช้น้ำปูนขาวประสิทธิภาพในการบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คือ 60, 80.70 และ 87.30 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อใช้สารละลายโซดาไฟประสิทธิภาพในการก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คือ 67.20, 76.20 และ 79.50 เปอร์เซ็นต์ โดยสรุปแล้ว สารบำบัดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ น้ำปูนขาว รองลงมาเป็นสารละลายโซดาไฟ และน้ำเปล่ามีประสิทธิภาพต่ำสุด และหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีลูกมีเดีย 2500 ลูก มีประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมาเป็นหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีลูกมีเดีย 1500 ลูก และหอบำบัดที่ไม่มีลูกมีเดีย ประสิทธิภาพในการบำบัดต่ำสุด เมื่อพิจารณาโดยรวมการบำบัดโดยใช้น้ำปูนขาวที่ปรับ pH เป็นด่าง (pH 11) และมีลูกมีเดีย 2500 ลูก มีประสิทธิภาพสูงสุด |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1836 |
Appears in Collections: | ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TPT-03 p614-620.pdf | การทดสอบประสิทธิภาพหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของโรงรมลำไยสดจำลองในเขตภาคเหนือตอนบน | 580.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.