Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1831
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุริยา โชคเพิ่มพูน | |
dc.contributor.author | พงษ์เจต พรหมวงศ์ | |
dc.contributor.author | ชินรักษ์ เธียรพงษ์ | |
dc.contributor.author | สมิทธ์ เอี่ยมสะอาด | |
dc.contributor.author | สมพล สกุลหลง | |
dc.date.accessioned | 2014-10-07T07:24:41Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:36:48Z | - |
dc.date.available | 2014-10-07T07:24:41Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:36:48Z | - |
dc.date.issued | 2013 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1831 | - |
dc.description.abstract | เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนนับเป็นอุปกรณ์ทางวิศวกรรมที่สำคัญและมีการประยุกต์ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรม รวมทั้งงานทางด้านเกษตรกรรม ซึ่งกระบวนการแลกเปลี่ยนความร้อนของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนจำเป็นจะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่งในการขับเคลื่อนกระบวนการ โดยปริมาณพลังงานที่ใช้จะมากหรือน้อยเพียงใดนั้นส่วนหนึ่งมาจากสมรรถนะของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน หาเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนมีสมรรถนะสูงสามารถเกิดกระบวนการการแลกเปลี่ยนความร้อนได้อย่างรวดเร็วก็จะช่วยลดปริมาณพลังงานที่จ่ายแก่ระบบได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาถึงการเพิ่มค่าสมรรถนะการถ่ายเทความร้อนของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อกลมด้วยเทคนิคครีบวางขวางการไหลของอากาศภายในท่อ ทำการศึกษาที่อัตราส่วนระยะห่างระหว่างครีบต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ (PR=P/D) เป็น 0.5ม 1.0 และ 1.5 โดยครีบมีความสูง (H) จำนวน 2 ขนาด ได้แก่ 5 และ 10 มิลลิเมตร (BR=H/D=0.1 และ 0.2 ตามลำดับ) ในช่วงการไหลแบบปั่นป่วนที่ค่าเลขเรย์โนลดส์ 5300-24,000 ภายใต้สภาวะเงื่อนไขฟลักซ์ความร้อนที่ผิวท่อคงที่ พบว่าการใช้ครีบวางขวางการไหลสามารถเพิ่มการถ่ายเทความร้อนได้ 2.04-3.32 เท่าของท่อเปล่า และให้ตัวประกอบความเสียดทานสูงขึ้นประมาณ 3-24 เท่าของท่อเปล่า เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มขึ้นของการถ่ายเทความร้อนและตัวประกอบความเสียดทานซึ่งแสดงในรูปของค่าสมรรถนะการถ่ายเทความร้อนภายใต้กำลังของปั๊มเดียวกัน จะเห็นว่าการใช้เทคนิคครีบวางขวางการไหลสามารถเพิ่มค่าสมรรถนะการถ่ายเทความร้อนได้ ก่อให้เกิดผลดีหากมีการนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในแง่ของการประหยัดพลังงานเนื่องจากช่วยเพิ่มอัตราการแลกเปลี่ยนความร้อนหรือในแง่ของการลดต้นทุนทางวัสดุเนื่องจากเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่ค่าสมรรถนะสูงขึ้นทำให้สามารถลดขนาดเครื่องลงได้ในขณะที่ขีดความสามารถการทำงานยังคงเดิม ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้งาน เช่น กระบวนการอบไล่ความชื้น, เครื่องอบแห้งเมล็ดพันธุ์หรือผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering | en_US |
dc.subject | เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน | en_US |
dc.subject | การไหลปั่นป่วน | en_US |
dc.subject | ครีบวางขวาง | en_US |
dc.title | การเพิ่มการถ่ายเทความร้อนภายในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยครีบวางขวาง | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TOT-02 p584-590.pdf | การเพิ่มการถ่ายเทความร้อนภายในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยครีบวางขวาง | 839.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.