Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1648
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุจิระ ขอจิตต์เมตต์
dc.date.accessioned2014-05-21T08:49:56Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:34:07Z-
dc.date.available2014-05-21T08:49:56Z
dc.date.available2020-09-24T04:34:07Z-
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn1685-5280
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1648-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี ฉบับที่ 2 ปีที่ 1 (ก.ค. – ธ.ค. 2545), หน้า 1-6en_US
dc.description.abstractการศึกษาการนำผักตบชวามาผลิตแผ่นเส้นใยสำหรับงานเกษตรกรรม เนื่องจากผักตบชวา (รูปที่1) เป็นวัชพืชน้ำชนิดหนึ่งที่มีความสามารถพิเศษในการสร้างอาหาร และการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจึงก่อให้เกิดปัญหานานานับประการแก่วงการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ เช่น • การชลประทานทำให้เกิดอุปสรรคกับการระบายน้ำของฝาย ประตูระบายน้ำ และอื่นๆ ทำให้ทางเดินของน้ำเกิดการตื้นเขินเร็วกว่าปกติและทำให้เกิดน้ำท่วมตามมา • การไฟฟ้าพลังน้ำ ทำให้เกิดปัญหาสำคัญในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ เช่น ลดปริมาณน้ำซึ่งเกิดจากผักตบชวาที่ตายทับถมกันทางเดินน้ำตื้นเขินเพิ่มอัตราการระเหยของน้ำ แย่งเนื้อที่ในการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำ • การกสิกรรม ผักตบชวาจะแย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก ผักตบชวาจะสอบมาทับต้นข้าวเป็นแหล่งเพราะพันธุ์ศัตรูพืชนานาชนิด • การสาธารณสุข เป็นที่อยู่อาศัยของลูกน้ำของยุง นำเชื้อโรคมาสู่คน เป็นที่อาศัยของสัตว์ร้าย เช่น งูพิษ • การประมง ผักตบชวาเป็นอุปสรรคแก่การเจริญเติบโตของปลาและการจับปลา แสงสว่างในน้ำลดลงเป็นผลให้พืชที่เป็นอาหารของปลามีน้อย ปลามีขนาดเล็กลง พื้นน้ำที่ผักตบชวาขึ้นอยู่หนาแน่นน้ำไม่มีการไหลเวียนทำให้ปลาและสัตว์น้ำอาศัยอยู่น้อยกว่าปกติ • การคมนาคมทางน้ำ ผักตบชวากีดขวางการสัญจรทางน้ำ • การท่องเที่ยว ผักตบชวามีส่วนในการทำลายความสวยงามของแหล่งน้ำนั้นๆ และรบกวนกิจกรรมอื่นๆ ในขณะพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น • การเศรษฐกิจและสังคมทำให้หน่วยงานต่างๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากงบประมาณแผ่นดินปีละหลายสิบล้านบาท สำหรับการกำจัดวัชพืชน้ำโดยเฉพาะการชลประทาน จากปัญหาดังกล่าวจึงมีผู้นำเอาผักตบชวามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางเกษตรกรรมและลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น นำไปทำอาหารสัตว์ ปุ๋ย เพราะเห็ด ฯลฯ ปัญหาทางด้านเกษตรกรรม พบว่า การเพาะพันธุ์กล้าไม้เกษตรกรยังคงต้องอาศัยถุงดำ สำหรับการเพาะพันธุ์กล้าไม้ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจากการเพาะปลูก เพราะเกษตรกรต้องฉีกถุงดำออกก่อนนำไปลงดินทำให้ดินที่หุ้มต้นกล้าแตกต้นไม้เฉาตาย ทำให้เสียเวลาในการเพาะปลูก อีกทั้งถุงดำที่ฉีกออกกลายเป็นเศษพลาสติกยากแก่การย่อยสลายก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำเส้นใยจากก้านใบของผักตบชวา มาผลิตแผ่นเส้นใยสำหรับงานเกษตรกรรม เช่น การนำแผ่นใยที่ได้มาขึ้นรูปเป็นถุงเพาะพันธุ์กล้าไม้en_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.subjectผักตบชวาen_US
dc.subjectแผ่นเส้นใยen_US
dc.subjectเกษตรกรรมen_US
dc.subjecteichhomia crassipesen_US
dc.subjectagricultureen_US
dc.titleการนำผักตบชวามาผลิตแผ่นเส้นใยสำหรับงานเกษตรกรรมen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Article - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Journal of Engineering Y.01 Vol.2 2545 p1-6.pdfการนำผักตบชวามาผลิตแผ่นเส้นใยสำหรับงานเกษตรกรรม3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.