Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1640
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฉัตรชัย กันยาวุธ
dc.date.accessioned2014-05-19T07:45:21Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:33:24Z-
dc.date.available2014-05-19T07:45:21Z
dc.date.available2020-09-24T04:33:24Z-
dc.date.issued2545
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1640-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี ฉบับปฐมฤกษ์ ปีที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2545), หน้า 17-26en_US
dc.description.abstractนับตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันอุบัติภัยที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีพบว่ามีสาเหตุหลักมาจากการทำงาน หรือการตัดสินใจที่ผิดพลาดของพนักงานควบคุมการผลิต พนักงานซ่อมบำรุง รวมไปถึงการวิบัติของอุปกรณ์ต่างๆ ในกระบวนการผลิต ดังนั้นการลดการเกิดอุบัติภัยในกระบวนการผลิตจึงมักจะมุ่งไปที่การหาวิธีการลดความผิดพลาดจากสาเหตุดังกล่าว ซึ่งพบว่าการทำเช่นนี้ส่งผลให้การควบคุมการผลิตและการซ่อมบำรุงมีความซับซ้อนมากขึ้นและไม่มีสิ่งใดสามารถรับรองได้ว่าพนักงานเหล่านี้จะไม่ทำงานผิดพลาดอีกตลอดการทำงานทั้งวัน รวมถึงการทำงานในแต่ละวัน การคาดหวังว่าพนักงานจะไม่ทำงานผิดพลาดก็เปรียบเสมือนการที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงานกำลังเล่นเก้าอี้ดนตรี โดยที่ไม่มีสิ่งใดที่จะให้ความมั่นใจได้ว่า ผู้เล่นสามารถจะครอบครองเก้าอี้ได้ตลอดกาล โดยความเป็นจริงแล้วกระบวนการผลิตสามารถที่จะถูกปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีความปลอดภัยสูงขึ้นในภายหลังได้ แต่ทั้งนี้ควรจะเป็นการดำเนินการโดยวิศวกรหรือหน่วยงานที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในการออกกระบวนการผลิตเท่านั้น ไม่ควรปล่อยให้การปรับปรุงกระบวนการผลิตเป็นหน้าที่โดยตรงของพนักงานงานควบคุมการผลิตหรือพนักงานซ่อมบำรุง วิศวกรหรือหน่วยงานที่ทำการออกแบบโรงงานและกระบวนการผลิตควรจะใช้หลักการหรือแนวทางที่จะออกแบบให้โรงงานมีกระบวนการผลิตและมีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการปฏิบัติงานของพนักงานควบคุมการผลิตและพนักงานซ่อมบำรุง การออกแบบโรงงานมีคุณลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้กระบวนการผลิตสามารถทนต่อสภาวะการผลิตที่ไม่ผิดปกติมากได้ในระดับที่มีผลกระทบไม่มากต่อความปลอดภัย ประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในกรณีที่พนักงานควบคุมการผลิตทำงานผิดพลาด การออกแบบโรงงานและกระบวนการผลิตให้มีความปลอดภัยและมีความง่ายในการปฏิบัติงานและควบคุมการผลิตมีหลายแนวทางและมีรายละเอียดมาก ดังนั้นบทความนี้จะเน้นเฉพาะหลักการออกแบบโรงงานและกระบวนการผลิตโดยใช้แนวทางการลดและจำกัดผลกระทบที่มีผลต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติการควบคุมการผลิตen_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.subjectการออกแบบโรงงานen_US
dc.subjectความปลอดภัยen_US
dc.subjectความง่ายต่อการปฏิบัติงานen_US
dc.subjectPlant Designen_US
dc.subjectSafety and User Friendlyen_US
dc.titleการออกแบบโรงงานเพื่อความปลอดภัยและมีความง่ายต่อการปฏิบัติงานen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Article - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Journal of Engineering Y.01-Vol1-p17-26-2545.pdfการออกแบบโรงงานเพื่อความปลอดภัยและมีความง่ายต่อการปฏิบัติงาน6.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.