Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/160
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุณย์ฤทธิ์ ประสาทแก้ว
dc.contributor.authorวิรชัย โรยนรินทร์
dc.contributor.authorภาณุ ประทุมนพรัตน์
dc.date.accessioned2011-10-10T04:04:25Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:37:13Z-
dc.date.available2011-10-10T04:04:25Z
dc.date.available2020-09-24T04:37:13Z-
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/160-
dc.description.abstractโครงการวิจัยพัฒนาออกแบบเครื่องปรุงส้มตำอัตโนมัตินี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อคิดค้น ออกแบบและประดิษฐ์ต้นแบบของเครื่องปรุงส้มตำอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปรุงส้มตำ และเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการด้านอาหารในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กในการเลือกใช้เครื่องนี้โดยโครงการนี้เกิดจากแนวคิดที่จะแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับร้านอาหารซึ่งจำเป็นต้องมีการแข่งขันกันอย่างมาก โดยตัวแปรที่ผู้ประกอบการพิจารณาให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามีหลายตัวแปร ไม่ว่าจะเป็นตัวแปรด้านคุณภาพ ปริมาณ ราคา ความสะอาด รสชาติ หรือแม้แต่ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ เป็นต้น ส้มตำเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่คนไทยหรือแม้แต่ชาวต่างชาตินิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย คณะผู้วิจัยจึงมองเห็นถึงปัญหาของการทำส้มตำคือ ส้มตำที่ทำขึ้นในแต่ละครั้งมีรสชาติไม่แน่นอน ใช้เวลาในการทำนาน และยังไม่สะอาดเท่าที่ควร ดังนั้น ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวคิดที่จะผลิตเครื่องทำส้มตำขึ้นมา เพื่อให้ส้มตำที่ทำขึ้นในแต่ละครั้งมีรสชาติที่แน่นอน ใช้เวลาในการทำน้อยลง และมีความสะอาดปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยการวิจัยเบื้องต้นจะออกแบบและสร้างเครื่องปรุงส้มตำอัตโนมัติขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบก่อนที่จะนำไปพัฒนาต่อไป จากการทดสอบทำส้มตำ โดยแบ่งส้มตำเป็น 2 ประเภท คือ ส้มตำไทย และส้มตำปลาร้า และแบ่งส้มตำเป็น 2 รสชาติ คือ เผ็ดน้อย และเผ็ดมาก มาทำการทดสอบ ผลปรากฎว่า ส้มตำที่ได้มีหน้าตาและสีสันสวยงามใกล้เคียงกับส้มตำที่ขายตามท้องตลาด ส่วนในเรื่องของรสชาติก็สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจนว่า เป็นส้มตำประเภทไหน รสชาติใด ส่วนในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการทำส้มตำ ผลปรากฎว่า ส้มตำที่ได้จากเครื่องทำส้มตำอัตโนมัติเร็วกว่าส้มตำที่ได้จากแรงงานคนประมาณ 4 เท่า ส่วนทางด้านการทำงานของเครื่องทำส้มตำอัตโนมัติ ในเบื้องต้นก็ยังต้องอาศัยแรงงานคนในการบรรจุวัตถุดิบต่าง ๆ เพราะเครื่องนี้เป็นเครื่องต้นแบบและเป็นเครื่องแรกในโลกที่ทำการสร้าง ส่วนจุดที่มีการเสียหายมากที่สุดก็คือ คัปปิ้งที่ต่ออยู่ระหว่างมอเตอร์ของชุดเลื่อนขึ้นเลื่อนลงของชุดเทมะละกอกับสกรูส่งกำลัง เนื่องจากมีการฉีกขาดอันเป็นผลมาจากการทดสอบ ควรจะมีการบำรุงรักษาตรงจุดนี้เป็นพิเศษen_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีen_US
dc.subjectเครื่องกล, เครื่องปรุงส้มตำอัตโนมัติen_US
dc.titleเครื่องปรุงส้มตำอัตโนมัติen_US
dc.title.alternativePapaya Salad Making Machineen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:วิจัย (Research - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2.Abstract.pdfเครื่องปรุงส้มตำอัตโนมัติ236.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.