Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1578
Title: | โครงการเสนอแนะพิพิธภัณฑ์กองการราชการไทย กระทรวงมหาดไทย |
Authors: | รัตติยา ปรีเปรม |
Keywords: | พิพิธภัณฑ์กองการราชการไทย กระทรวงมหาดไทย การออกแบบภายใน การออกแบบภายใน สถาปัตยกรรมภายใน |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Abstract: | กรุงรัตนโกสินทร์เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของประเทศไทย นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีเมื่อปี พ.ศ. 2325 พระมหากษัตริย์ในราจักรวงศ์ทุกพระองค์ ได้ทรงรังสรรค์กรุงรัตนโกสินทร์ให้มีความเจริญรุ่งเรือง และปัจจุบันพื้นที่ของกรุงรัตนโกสินทร์เป็นที่ตั้งของที่ทำการสำคัญต่างๆ หลายแห่งปัญหาต่างๆ ได้เกิดขึ้นตามมา อาทิ ความแออัดของอาคารและสิ่งก่อสร้าง การจราจร สิ่งแวดล้อมและมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านลักษณะกายภาพและสังคมวัฒนธรรมอย่างมากและรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อร่องรอยและทำเลที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติความเป็นมา และส่งผลกระทบต่อสถาปัตยกรรมไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ซึ่งนับวันมีแต่จะถูกทำลายไป ประกอบกับประชาชนมีความตื่นตัวฝนเรื่องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมมากขึ้น จึงจำเป็นที่รัฐจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง ตามแผนแม่บทโครงการกรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พ.ศ.2546 ตามแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า พ.ศ. 2548-2552 ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า พ.ศ. 2548-2552 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ดังนี้ “เมืองเก่าได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างเหมาะสม สามารถดำรงคุณค่าความเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติไว้ได้ พร้อมไปกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อคงไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศเมืองและประโยชน์สุขของประชาชน กระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงแรกที่มีขึ้นในประวัติของชาติไทยที่ได้สร้างบ้านสร้างเมืองมาแต่โบราณกาล ลักษณะงานอันเป็นภารกิจของกระทรวงมหาดไทยนั้น มีหลักฐานปรากฏในประวัติศาสตร์การปกครองของไทยมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว นับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นปฐมราชธานี เมื่อราว พ.ศ. 1800 มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายพลเรือนในรูป “จตุสดมภ์” เมือง วัง คลัง นา โดยให้กรมเมือง มีหน้าที่ในการปกครองท้องที่ รักษาสันติสุข บังคับบัญชาบรรดาพลเรือน ตราบจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถราว พ.ศ. 2006 ได้กำหนดให้มีกรมมหาดไทย ดูแลบริหารราชการฝ่ายพลเรือนสืบทอดมาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเป้าหมายของจุดเน้นจะอยู่ที่ประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ ภารกิจหลากหลายในความรับผิดชอบต้องมีการกำหนดขอบเขตอย่างชัดเจน ซึ่งที่ตั้งของกระทรวงมหาดไทยในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของวัง คือ 1.วังริมสะพานช้างโรงสีวังใต้ 2.วังถนนเฟื่องนคร วังเหนือ 3.วังถนนเฟื่อนครวังใต้ (สำนักงานปลดกระทรวงมหาดไทย ปัจจุบันอาคารกระทรวงมหาดไทยบางส่วนที่เคยเป็นอาคารสำนักงานของกรม กองต่างๆ ได้ยกเลิกใช้งาน เนื่องจากได้ย้ายไปยังศูนย์ราชการกรุงเทพฯ แจ้งวัฒนะ ทำให้อาคารดังกล่าวซึ่งไม่ได้ถูกใช้สอยในปัจจุบัน ทางกระทรวงมหาดไทยจึงมีแผนในการปรับปรุงกระทรวง เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย และพื้นที่ใกล้เคียงยังมีโครงการต่างๆ ตามแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ การอนุรักษ์และปรับปรุงบริเวณป้อมมหากาฬและใกล้เคียง การอนุรักษ์และพัฒนาการสัญจรทางบกและทางน้ำ บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกและชั้นใน การปรับปรุงพื้นที่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อการอนุรักษ์ สามารถดำรงคุณค่าความเป็นมรดกทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์อันยาวนานของกระทรวงมหาดไทยที่สำคัญต่อการปกครองของไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน พร้อมไปกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อคงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ สะท้อนถึงการปกครองและการทำงานและกิจการราชการไทย ของกระทรวงมหาดไทยและความเป็นไปแลแนวทางในอนาคตของกระทรวงมหาดไทย โครงการพิพิธภัณฑ์กองการราชการไทย กระทรวงมหาดไทย จะช่วยในการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ที่มีต่อสังคม และความเป็นอยู่ของคนไทย สร้างทัศนคติด้านการดำเนินราชการไทยในแง่มุมต่างๆ ให้แก่ผู้เข้าชม และช่วยเผยแพร่ความรู้ และเน้นจุดยืนในการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แสดงถึงการแก้ไขปัญหา ในวิกฤตการณ์ทางการเมือง การเกษตร ภัยธรรมชาติ และการทำงานในความกดดันต่อนานาอารยประเทศ |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1578 |
Appears in Collections: | โครงงาน (Project) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
121227.pdf | โครงการเสนอแนะพิพิธภัณฑ์กองการราชการไทย กระทรวงมหาดไทย | 12.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.