Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1562
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปภัสรา ชัยชาญ | |
dc.date.accessioned | 2014-04-23T04:05:39Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:15:00Z | - |
dc.date.available | 2014-04-23T04:05:39Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:15:00Z | - |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1562 | - |
dc.description.abstract | อาหารเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ทุกชนชาติ วัฒนธรรมในการบริโภคจึงมีแตกต่างกันไปมากมาย อย่างเช่นคนไทยเองก็มีวัฒนธรรมการบริโภคเป็นของตัวเองมาช้านานแล้วเช่นกัน เห็นได้จากการบันทึก กาพย์ กลอนฯลฯ เป็นการยืนยันว่าการปรุงอาหารเพื่อรับประทานของไทยมีการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น อาหารไทยไม่ใช่เป็นแค่อาหารปากเพื่ออิ่มท้อง แต่ยังเป็นอาหารตา จมูก สามารถรับรู้ได้ทั้งรูปรสกลิ่นเสียง วัฒนธรรมการบริโภค ส่วนมากก็จะมาจากวัตถุดิบธรรมชาติจึงไม่แปลกที่คนไทยสมัยเก่ามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเนื่องจากได้บริโภคแต่อาหารที่สด สะอาด อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วน การปรุงต้องอาศัยความพิถีพิถันไม่ว่าจะเป็นการเลือกสรรวัตถุดิบ การปรุงรสชาติ รวมถึงการจัดเครื่องเคียงประดับประดาและคนไทยยังคิดสรรหาอาหารที่มารับประทานต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวหรืออาหารหวานซึ่งอาหารและชนิดก็ได้รับการผสมผสานมาจากอาหารต่างชาติด้วยเช่นกัน มีการผสมปนเปกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนกลมกลืนเข้าด้วยกันจนกลายเป็นอาหารไทยในปัจจุบันที่เราได้เห็น จุดเด่นของอาหารไทยก็อยู่ที่ทำยากและรับประทานยากและมีรูปลักษณ์อ่อนช้อยสวยงามรสชาติที่กลมกล่อมจึงทำให้อาหารไทยมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว คนต่างชาติอีกไม่น้อยที่ให้ความสนใจในอาหารไทย แต่กลับกันที่คนไทยยิ่งนับวันยิ่งรู้จักอาหารไทยน้อยลงโดยเฉพาะเยาวชน หากปล่อยไว้เช่นนี้อาหารไทยอาจจะเหลือแต่ชื่อกับภาพประกอบในหนังสือก็เป็นได้ พิพิธภัณฑ์ (ตำรับ) สยาม เป็นโครงการเสนอแนะเพื่อเป็นทางเลือกในการเก็บรักษาในเรื่องของอาหารไทยตั้งแต่อดีต-ปัจจุบันอยู่ภายใต้องค์กรของมิวเซียมสยามซึ่งเป็นโครงการสมมติขึ้นมา มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของเยาวชนและผู้สนใจในอาหารไทย โดยพิพิธภัณฑ์นี้จะเน้นให้ผู้มาใช้ได้รู้ถึงวิวัฒนาการของอาหารไทยจากอดีตว่ามีการสืบทอดกันมาเช่นไร กว่าจะถึงยุคปัจจุบันได้มีการสั่งสมอะไรมาบ้าง เทคนิคในการจัดแสดงก็จะใช้สื่อวีดีทัศน์เป็นตัวประสาน เพื่อการเข้าใจง่ายและมีส่วนให้ผู้ใช้ลงมือปฏิบัติเป็นการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสของตัวเอง ทั้งส่วนผสม วิธีการทำ การเรียนรู้จากกลิ่น จากตา จากการรับฟัง และเพื่อที่จะให้เป็นองค์กรที่ต้องการอนุรักษ์และเผยแพร่อาหารไทยอย่างครบถ้วนจึงมีส่วนของโรงเรียนสอนทำอาหารขึ้นมาด้วย รองรับสำหรับผู้ที่อยากทำอาหารไทยหลังจากชมโครงการเสร็จ เป็นการกระตุ้นให้คนไทยมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหนอาหารไทยทั้งยังสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่หลายฝ่ายออกมารณรงค์ให้ช่วยกันอนุรักษ์อาหารไทยก่อนจะสูญพันธุ์ เพราะอาหารไทยเป็นของคนไทยจึงควรรักษาไว้ให้คงอยู่คู่สังคมสืบไป | en_US |
dc.language.iso | Thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.subject | พิพิธภัณฑ์ (ตำรับ)สยาม | en_US |
dc.subject | การออกแบบก่อสร้าง | en_US |
dc.subject | การออกแบบภายใน | en_US |
dc.subject | สถาปัตยกรรมภายใน | en_US |
dc.title | โครงการศึกษาและออกแบบสถาปัตยกรรมภายในพิพิธภัณฑ์ (ตำรับ)สยาม | en_US |
dc.type | Project | en_US |
Appears in Collections: | โครงงาน (Project) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
121211.pdf | โครงการศึกษาและออกแบบสถาปัตยกรรมภายในพิพิธภัณฑ์ (ตำรับ)สยาม | 109.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.