Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1512
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | รวีวรรณ เข็มทอง | |
dc.date.accessioned | 2014-04-18T03:01:00Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:15:18Z | - |
dc.date.available | 2014-04-18T03:01:00Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:15:18Z | - |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1512 | - |
dc.description.abstract | เมื่อพูดถึง “เพลงลูกทุ่ง” บางคนอาจเบือนหน้าหนี มองว่าเชย แต่ความเป็นจริงแล้วภาพรวมในสังคมไทยของเพลงลูกท่งไม่มีคำว่าล้าสมัย เพราะบทเพลงต่างๆ ล้วนมีเสน่ห์ในอัตตาลักษณ์ของภาษา พร้อมทั้งถ่ายทอดบนทึกเรื่องราวแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญเพลงลูกทุ่งยังอยู่คู่กับชีวิตคนไทยเสมอมา เพียงแต่เราอาจจะไม่รั้วเท่านั้นเอง เพลงลูกทุ่ง เป็นเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่งที่สืบเนื่องมาจากเพลงพื้นบ้านที่ใช้ร้องเล่นกันโดยทั่วไป ตามชนบทของไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่ใช้ภาษาง่ายๆ ตรงไปตรงมา ไม่สลับซับซ้อนมีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศความเป็นลูกทุ่ง เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในชนบทให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพลงลูกทุ่งหลายเพลงได้สะท้อนถึงสภาพสังคม ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมไทยที่มีอิทธิพลต่อวิถีของคนไทย ปัจจุบันการแสดงออกทางด้านศิลปวัฒนธรรมของไทย โดยเฉพาะด้านดนตรีถูกอิทธิพลของชาติตะวนตกและชาติตะวันออกเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ค่านิยมของเยาวชนและวัยรุ่นไทยเปลี่ยนไปตามกระแสของต่างชาติและไม่สนใจศิลปะด้านดนตรีของไทย โดยเฉพาะเพลงลูกทุ่งไทยที่ในปัจจุบันมีผู้นิยมฟังเพลงเพียงบางส่วนเท่านั้น ภาพสะท้อนของสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะเมืองหลวง มีอะไรบ้างที่ยังหลงเหลือความเป็นไทยยู่ให้เห็น ภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือแม้แต่การดำรงชีวิต ได้ถูกกลืนหายไปกับกระแสอารยะรรมตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามาผ่านสื่อต่างๆ โดยปราศจากการเลือกสรรกลั่นกรอง จนเกิดการครอบงำทางวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันก็สร้างค่านิยมและทัศนคติที่ขัดแย้งระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ สภาพวิถีชีวิตไทยเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงามถูกเบี่ยงเบนแลเปลี่ยนแปลง จนทำให้ตัวตนและจิตวิญญาณที่แท้จริงของความเป็นไทยเหลือน้อยลงไปทุกที คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นว่า เพลงลูกทุ่งเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ สมควรจะอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ให้แพร่หลายต่อไป และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กรทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานของรัฐได้เข้าไปมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมเพลงลูกทุ่งไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมา การส่งเสริมเพลงลูกทุ่งไทยของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาตินั้น เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2532 โดยในครั้งนั้นเป็นช่วงที่วงการเพลงลูกทุ่งได้ผ่านพ้นยุคทองสูงสุดมาแล้ว วงดนตรีลูกทุ่งที่เคยเดินสายเปิดการแสดงอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีการจองวัน เวลาล่วงหน้าเป็นปี กำลังซบเซาจนมีผู้ห่วงกังวลว่าเพลงลูกทุ่งอาจตายไปจากความทรงจำของประชาชนเหมือเพลงพื้นบ้านอื่นๆ ที่ค่อยๆ เลือนหายไปจากความนิยมเหลือไว้แต่เพียงตำนานเล่าขานถึงความรุ่งเรืองในอดีตที่ผ่านมา จึงคิดทำโครงการการเรียนรู้เพลงลูกทุ่งไทย เพื่อส่งเสริมเพลงลูกทุ่งไทยและเก็บรักษา เผยแพร่ ดนตรีลูกทุ่งไทยให้เยาวชนรุ่นหลังและประชาชนได้รับรู้และซึมซับวัฒนธรรมของเพลงลูกทุ่งไทยที่มีมากกว่า 60 ปีต่อไป จุดประกายความเป็นไทยให้เด่นชัดกว่าเดิม และเล่าขานตำนานลูกทุ่งไทยและอาจทำให้เพลงลูกทุ่งได้รับการพัฒนาแนวดนตรี แนวการร้องจากคนรุ่นหลังเพื่อก้าวไปสู่ระดับสากลด้วย จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของเพลงลูกทุ่ง จึงมีโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เพลงลูกทุ่งไท เพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและรวบรวม เพลง ทั้งเก่าและใหม่และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเพลงลูกทุ่ง นำเสนอแง่มุมในหน้าประวัติศาสตร์วงการลูกทุ่งไทย แสดงให้เห็นการคลี่คลายจากเพลงไทยเดิมและเพลงพื้นบ้านผสมผสานเข้ากับรูปแบบดนตรีตะวันตก ที่ได้มีการพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา | en_US |
dc.language.iso | Thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.subject | พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ลูกทุ่งไทย | en_US |
dc.subject | การออกแบบภายใน | en_US |
dc.subject | การออกแบบก่อสร้าง | en_US |
dc.subject | สถาปัตยกรรมภายใน | en_US |
dc.title | โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ลูกทุ่งไทย | en_US |
dc.type | Project | en_US |
Appears in Collections: | โครงงาน (Project) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
121132.pdf | โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ลูกทุ่งไทย | 16.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.