Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/141
Title: พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของคนวัยทำงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: Taking nutrition supplement behavior of working person in Rajmangala university of Technology Thanyaburi
Authors: ศรากุล สุโคตรพรหมมี
สุดาพร กุณฑลบุตร
กนกพร ชัยประสิทธิ์
Keywords: อาหารเสริม, พฤติกรรมการบริโภค, สุขภาพ, ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม, อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Abstract: ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงกระแสนี้ได้ การดำเนินชีวิตเต็มไปด้วยความเครียด รีบเร่ง ด้วยเวลามีอยู่อย่างจำกัดค่าครองชีพที่สูงขึ้น การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมีน้อยลงตามความจำเป็น เหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารเสริมเพราะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารที่ผิดวิธี รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ไม่มีความรู้ทางโภชนาการ หรือมีความรู้ทางโภชนาการที่ดีแต่ไม่สามารถปฎิบัติตามได้ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพได้เข้ามาสนองความต้องการของผู้บริโภคเมื่อหลายปีมาแล้ว แต่ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพของหลายบริษัทเข้ามาแข่งขันเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น การตลาดของผลิตภัณฑ์ เช่นการขายตรง หรือโฆษณาในนิตยสารต่างๆ ซึ่งผู้บริโภคสามารถซื้อได้จากร้านค้า ร้านขายยา ร้านผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ห้างสรรพสินค้า ในบางครั้งการขายตรงมีส่วนทำให้ผู้บริโภคเกิดการสับสนและตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาที่เกินจริงในบางผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคไม่มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบางชนิดสามารถแอบอ้างสรรพคุณ ผู้บริโภคควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ หรือพิจารณาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของคนวัยทำงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การศึกษาอิสระนี้เป็นการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของคนวัยทำงานภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในการศึกษาครั้งนี้ ทางผู้ศึกษาได้ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1. พฤติกรรมผู้บริโภค 2. ส่วนประสมทางการตลาด 3. ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม 4. งานวิจัยที่เกี่ยงข้อง ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย มีลักษณะเป็นคำถามเป็นแบบปลายเปิดและปลายปิด โดยกำหนดลักษณะคำถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ส่วนที่ 2 ปัจจัยทางการตลาด ที่มีความสำคัญกับการตัดสินใจซื้ออาหารเสริม โดยแบ่งเป็น 4 ด้านด้วยกันดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ในการสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลๆ ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้การเก็บข้อมูลเชิงสำรวจ (Server research) และการค้นคว้าจากตำราและเอกสารต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่เก็บจากคนวัยทำงานอายุระหว่าง 25-60 ปี ดดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ 2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นการศึกษาค้นคว้าจากตำราวิชาการต่างๆเอกสารบทความและวารสารจากห้องสมุดรวมถึงหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาในแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.5 เพศชาย ร้อยละ 32.5 มีสถาณภาพโสด ร้อยละ 39.7 สมรส ร้อยละ 59.7 และหย่าร้าง/หม้าย ร้อยละ 0.3 ช่วงอายุมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 53.1 กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจมากที่สุดร้อยละ 60.9 มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรีร้อยละ 69.9 โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001-20,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 39.7 ส่วนที่ 2 ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญกับการตัดสินใจซื้อ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการตลาดมากที่สุดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ และผู้บริโภคให้ความสำคัญกับด้านการจัดจำหน่ายน้อยที่สุด รวมทั้งให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด คือชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ รองลงมาคือ รูปแบบสินค้ามีความปลอดภัย และสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเป็นลำดับสุดท้าย คือบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม การพิจารณาแยกตามปัจจัยทางด้านการจัดจำหน่ายกับปัจจัยทางด้านการศึกษาโดยส่วนใหญ่แล้วผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับความสะดวกในการซื้อสินค้า ในเรื่องสถานที่มากกว่าการสั่งซื้อผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ การพิจารณาแยกตามปัจจัยทางด้านการส่งเสริมการตลาดกับปัจจัยด้านการศึกษา สำหรับด้านการส่งเสริมการตลาดนั้นผู้บริโภคจะให้ความสำคัญในระดับที่ใกล้เคียงกันในทุกข้อและระดับการศึกษา
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/141
Appears in Collections:วิจัย (Research - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
3.Abstract.pdfพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของคนวัยทำงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี375.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.