Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเจริญ เจริญชัย
dc.date.accessioned2011-09-28T03:00:21Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:37:05Z-
dc.date.available2011-09-28T03:00:21Z
dc.date.available2020-09-24T04:37:05Z-
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/135-
dc.description.abstractการพัฒนาผลิตสุราจากน้ำตาลสด โดยการใช้ไม้พะยอมและไม้มะเกลือ ซึ่งไม้พะยอมป้องกันการบูดของน้ำตาลสดระหว่างการรองตาล ส่วนไม้มะเกลือเป็นตัวช่วยให้น้ำตาลสดเปลี่ยนไปเป็นแอลกอฮอล์ จากการศึกษาพบว่าสารสกัดไม้พะยอม มีผลในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมบวก บางชนิดเช่น B. cereus, B. Subtilis และ S. aureus แต่ไม่ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมลบบางชนิดเช่น S. typhimurium,, E. coli และ Acetic acid Bacteria รวมทั้งเชื้อยีสต์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมักน้ำตาลเมา ส่วนสารสกัดไม้มะเกลือไม่พบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ แต่จะมีผลต่อเชื้อธรรมชาติในน้ำตาลสดในการช่วยให้น้ำตาลถูกเปลี่ยนไปเป็นแอลกอฮอล์ และส่งผลต่อการเจริญของเชื้อยีสต์ growth factor เนื่องจากเชื้อยีสต์มีอัตราการใช้น้ำตาลเพิ่มสูง และสร้างแอลกอฮอล์ได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ปริมาณเชื้อยีสต์ที่พบมากในน้ำตาลเมาคือ Candida colliculosa ซึ่งเป็นยีสต์ที่ทำให้เกิดการหมัก การคัดเลือกยีสต์และวิธีการกลั่นที่เหมาะสมในการผลิตสุราจากน้ำตาลสด เปรียบเทียบการหมักน้ำตาลสดที่ปรับปริมาณของแข็งละลายน้ำได้ (TSS) เป็น 20°Brix ด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae 3 สายพันธุ์ คือ EDV-493 EC-1118 และผลการศึกษาพบว่าน้ำตาลสดที่ได้มีค่าไม่แตกต่างกัน แต่พบว่า S. cerevisiae CS-305 ได้รับการยอมรับทางประสาทสัมผัสมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และเมื่อนำน้ำตาลเมาที่หมักโดยยีสต์ CS-305 เปรียบเทียบการกลั่น แบบ Batch 1 ครั้ง Batch 2 ครั้ง และการกลั่นแบบ Rectification พบว่าการกลั่นแบบ Batch 2 ครั้ง ได้รับการยอมรับทางประสาทสัมผัสจากผู้ทดสอบชิมมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) การทดสอบเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องกลั่นสุรา โดยการปรับปรุงหม้อต้มน้ำตาลสดและเพิ่มขนาดของหัวแก๊สในการให้ความร้อนแก่หม้อต้มน้ำตาลสดและหม้ออุ่นน้ำตาลสด ป้อนน้ำตาลสด ให้ป้อนที่ชั้นที่สองของหอกลั่น พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีปริมาณผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า ปริมาณของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 7.7 ลิตร ความเข้มข้นเอทานอล 60% โดยปริมาตร และอัตราการไหลของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า อัตรา 1.5 ลิตร/ชั่วโมง ประสิทธิภาพในการกลั่นแบบแบทซ์ มีค่าเพิ่มขึ้น 51% และสามารถปฏิบัติการกลั่นแบบต่อเนื่องได้โดยมีอัตราการไหลของผลิตภัณฑ์ 1.5 ลิต/ชั่วโมง ประสิทธิภาพของการกลั่นเอทานอล 60% โดยปริมาตรแบบต่อเนื่องมีค่าเท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์en_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีen_US
dc.subjectสุราน้ำตาลสด, สุราพื้นบ้าน--การผลิตen_US
dc.titleการพัฒนากระบวนการผลิตสุราน้ำตาลสด สำหรับเกษตรกรสวนมะพร้าวen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:วิจัย (Research - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2.Abstract.pdfการพัฒนากระบวนการผลิตสุราน้ำตาลสด สำหรับเกษตรกรสวนมะพร้าว186.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.